กรมลดโลกร้อน จัดประชุมหารือการกำหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ภายใต้เป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับที่ 2 (NDC 3.0)

               วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมหารือการกำหนดเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ภายใต้เป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับที่ 2 (NDC 3.0) โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมฯ นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม นายกิตติศักดิ์ พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ รองศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย หัวหน้าหน่วยวิจัยพลังงานที่ยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้างแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายศิวัช แก้วเจริญ ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจก พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุมฯ ณ ห้องประชุม 203 ชั้น 2 อาคารหอประชุมกรมประชาสัมพันธ์
               การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบแนวทาง กรอบ และแผนการดำเนินงาน และร่วมกันพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย รายสาขา ภายใต้เป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับที่ 2 (NDC 3.0 ) ณ ปี พ.ศ. 2578 (ค.ศ. 2035) ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบค่าเป้าหมาย ทั้งในกรณีที่มีการดำเนินงานเองภายในประเทศ (Unconditional target) และที่ต้องการการสนับสนุนจากต่างประเทศ (Conditional target) และเห็นชอบการกำหนดสาขาป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ภายใต้เป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด ฉบับที่ 2 (NDC 3.0) โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จะกำหนดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ประกาศรับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง รุ่นที่ 21 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569

ประกาศกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เรื่อง รับสมัครคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญเข้าสู่ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง รุ่นที่ 21

ทส. เปิดตัว Miss Climate Change “ขวัญ ชรัญญา” นางสาวไทย พิษณุโลก 2568 ร่วมขับเคลื่อนภารกิจพิชิตโลกเดือด

               วันที่ 20 มีนาคม 2568 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มอบโล่เกียรติคุณ “Miss Climate Change” ให้แก่ นางสาว ชรัญญา เพชรสุวรรณนาคะ นางสาวไทย พิษณุโลก 2568 ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม สร้างกระแสความตระหนักรู้ เปลี่ยนแปลงสังคมไทยสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำและภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารกระทรวงฯ เข้าร่วมเป็นเกียรติ ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
               นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า จากวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้ส่งผลกระทบกับหลายประเทศทั่วโลก และถึงแม้ว่าประเทศไทย ได้หลุดจากอันดับประเทศเสี่ยงสูงต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จากอันดับที่ 9 ไปสู่อันดับที่ 30 แต่ประเทศไทยยังคงต้องมีแผนในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เห็นความสำคัญถึงความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะบุคคลที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นพลังการสื่อสารสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงสังคมไทย เพื่อร่วมกันสร้างโลกที่ยั่งยืนต่อไป จึงได้มอบหมายให้ นางสาว ชรัญญา เพชรสุวรรณนาคะ นางสาวไทย พิษณุโลก 2568 เยาวชนจิตอาสา ที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นนักกิจกรรมที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชน สร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ให้เกิดการพัฒนาทั้งในระดับชุมชน และระดับประเทศ เป็น “Miss Climate Change” โดยจะมาช่วยเป็นกระบอกเสียงและขับเคลื่อนกิจกรรมในการสร้างการรับรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดเป็นกระแสสังคมในวงกว้าง นำไปสู่ความร่วมมือของทุกภาคส่วน ขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ์เป็นศูนย์ หรือ Net Zero รวมถึงมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ประกาศเลขที่ 35/2568 ประกวดราคาจ้างดำเนินการติดตาม ประเมินผลงานของ ทสม. และเครือข่าย ทสม. ดีเด่น ระดับพื้นที่ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

ประกาศเลขที่ 35-2568 ทสม 2568

ประกาศเลขที่ 34-2568 ประกวดราคาจ้างก่อสร้างจ้างปรับปรุงถนน ระบบไฟฟ้าและสื่อสารรอบอาคารศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

ประกาศ 34-2568 จ้างปรับปรุงถนน ศปส 12.193

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (สอบสัมภาษณ์) พนักงานราชการ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการประเมินความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะ ครั้งที่ 2 (สอบสัมภาษณ์) พนักงานราชการ

ประกาศรายชื่อผู้สิทธิเข้ารับการประเมินค

กรมลดโลกร้อน เตรียมพร้อมเครือข่าย ทสม. ทำแผนปฏิบัติการเครือข่าย ทสม.เชิงพื้นที่

               วันพุธที่ 19 มีนาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และโรงแรมอลิซาเบธ กรุงเทพมหานคร โดยมี นายโกเมศ พุทธสอน รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน กล่าวให้กำลังเครือข่าย ทสม. และปิดการประชุม
               การประชุมในวันนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบแนวทางการจัดทำแผนปฏิบัติการเครือข่าย ทสม.เชิงพื้นที่ (Action Plan) และ แผนการเงิน (Financial Support) ในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2569 – 2573) เพื่อเตรียมความพร้อมและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฯ และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะต่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานของเครือข่าย ทสม.ทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมบทบาท ทสม ให้เป็นผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน รับมอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ เครื่องหมาย Net Zero Event

               วันนี้ (วันพุธที่ 19 มีนาคม 2568) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดย ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม รับมอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติ เครื่องหมาย Net Zero ประเภทอีเว้นท์ ในฐานะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่ Net Zero โดยมี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรองฉลากคาร์บอน ณ ห้อง Conference Hall สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์การมหาชน) หรือ TIJ ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
               กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ได้พัฒนาระบบรับรองเครื่องหมายฉลากคาร์บอนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน เพื่อกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ เกิดการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ต่อยอดสู่กิจกรรมชดเชยคาร์บอน และ Net Zero เพื่อให้เกิดการลดก๊าซเรือนกระจก อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าและบริการของประเทศไทยในตลาดสากล ที่ผ่านมา มีองค์กรที่ให้ความสนใจดำเนินงานฉลากคาร์บอนเป็นจำนวนมาก สำหรับพิธีมอบประกาศนียบัตรเครื่องหมายรับรองฉลากคาร์บอนในครั้งนี้ กรมลดโลกร้อน ได้รับมอบประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติในเครื่องหมาย Net Zero ประเภทอีเว้นท์ โดยเครื่องหมาย Net Zero นี้ ประกอบด้วยประเภทประเภทอีเว้นท์ จำนวน 4 อีเว้นท์ ประเภทผลิตภัณฑ์ จำนวน 8 ผลิตภัณฑ์ ประเภทบุคคล จำนวน 3 คน โดยมีปริมาณคาร์บอนเครดิตจากภาคป่าไม้ชดเชย จำนวน 125 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน จับมือ TEI พัฒนาแนวทางการปรับตัวสู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศ อย่างบูรณาการและมีส่วนร่วม

               วันพุธที่ 19 มีนาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาแนวคิดการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับประเทศไทยภายใต้โครงการพัฒนาแนวทางและศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ ห้องประชุมพระพรหม ชั้น 3 โรงแรม อัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และได้รับเกียรติจาก ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกว่า 100 คน
               การประชุมครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อนำเสนอแนวคิดและหลักการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ครอบคลุมตามแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) ทั้ง 6 สาขา รวมถึงแนวทางการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของชุมชนให้เป็นพื้นที่ต้นแบบด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 2 พื้นที่ คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดเชียงราย ใน 2 สาขา (สาขาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสาขาการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์) โดยมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน เพื่อนำไปพัฒนาแนวคิดการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับประเทศไทยอย่างบูรณาการ เชื่อมโยง 6 สาขาสำคัญที่มีความเสี่ยง ได้แก่ การจัดการน้ำ การเกษตรและความมั่งคงทางอาหาร การท่องเที่ยว สาธารณสุข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน ซึ่งการพัฒนาแนวทางและศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะเป็นเครื่องมือสำคัญให้กับทุกภาคส่วน ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักถึงการตั้งรับในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภายใต้แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (National Adaptation Plan: NAP) รวมถึงมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการปรับตัวของทุกภาคส่วน และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”