กรมลดโลกร้อน เปิดเวทีปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ยกระดับมาตรการด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Climate Change Mitigation)

               เมื่อวันศุกร์ที่ 21 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และบริษัท แอดเวนเทจ คอนซัลติ้ง จำกัด ที่ปรึกษาโครงการ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อหารือการปรับปรุงแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ครั้งที่ 4 การลดก๊าซเรือนกระจก (Climate Change Mitigation) ยกระดับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์และทิศทางระดับโลก โดยมี ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมด้วยนายกิตติศักดิ์ พฤกษ์กานนท์ ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมหารือ ณ ห้องประชุม Platinum Hall ชั้น 3 โรงแรมอวานี รัชดา กรุงเทพมหานคร
               การหารือในครั้งนี้ มีการนำเสนอข้อมูลการทบทวนเป้าหมาย นโยบายด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยและในระดับสากล และแนวทางมาตรการ กลไกด้านการลดก๊าซเรือนกระจก ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ และแผนในระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับการพัฒนา และปรับปรุงร่างมาตรการและกลไกด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และการมีส่วนร่วมทางสังคม เพื่อนำไปสู่การกำหนดทิศทางการดำเนินงาน สร้างความสามารถในการลดก๊าซเรือนกระจกได้อย่างยั่งยืน โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จะดำเนินการจัดทำสรุป และยกร่างแผนแม่บทฯ ในภาพรวม และกำหนดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในช่วงเดือนพฤษภาคม 2568 ต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน จัดกิจกรรมสร้างองค์ความรู้ “Carbon Free & Smog-Free” : ปลอดคาร์บอน ไร้หมอกควัน ลดโลกเดือด

               วันนี้ (วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม 2568) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมรณรงค์และเสริมสร้างองค์ความรู้ในการป้องกันการเผาในที่โล่ง ลดปัญหาหมอกควัน “Carbon Free & Smog-Free” : ปลอดคาร์บอน ไร้หมอกควัน ลดโลกเดือด โดยมี นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
               การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วย การเสวนาในหัวข้อ “ปัญหาการเผาในที่โล่ง ไฟป่า และลดปัญหาหมอกและควัน” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ นายสุวิทย์ นิยมมาก ผอ.ส่วนสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.สุพรรณบุรี ผศ.ดร.ปฏิพัทธ์ วงค์เรือง อาจารย์สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา นางสวณีย์ โพธิ์รัง ผู้จัดการนาแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จ.สุพรรณบุรี และนางปรียวัท ภู่เกษแก้ว ส่วนงานด้านความยั่งยืน และ สื่อสารองค์กร บริษัทบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ยังมีกิจกรรม Workshop เกษตรลดการเผา ลดโลกเดือด โดย ดร.ณัฐวิญญ์ ชวเลิศพรศิยา ที่ปรึกษา สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพิ่มองค์ความรู้ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เชื่อมโยงไปสู่การส่งเสริมป้องกันการเผาในที่โล่ง ลดปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง PM2.5 ให้แก่เครือข่ายชุมชน โดยมีชุมชนศูนย์เรียนรู้ลดโลกร้อน นาแปลงใหญ่ เกษตรสมัยใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม จังหวัดสุพรรณบุรี เข้าร่วมกว่า 100 คน

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ประกาศเปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 (จ้างที่ปรึกษาพัฒนาการประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน)

ประกาศเปลี่ยนแปลงแผน กสร

ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา (ใบสั่งจ้าง สลก.38/2568) จ้างซ่อมครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ (เครื่องพิมพ์) จำนวน 2 เครื่อง (บริษัท พีทวินพลัส จำกัด) โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

กรมลดโลกร้อน ร่วมเสวนาเนื่องในวันน้ำโลก ประจำปี พ.ศ. 2568 ภายใต้แนวคิด “น้ำคือชีวิต การอนุรักษ์น้ำและธารน้ำแข็งเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”

วันที่ 21 มีนาคม 2568 นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Climate Change Adaptation” เนื่องในงานวันน้ำโลก ปี 2568 ณ ห้องแคทลียา ชั้น 1 โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร จัดโดย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “น้ำคือชีวิต การอนุรักษ์น้ำและธารน้ำแข็งเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน” สอดรับกับประเด็น “Glacier Preservation” หรือ “การอนุรักษ์ธารน้ำแข็ง” ที่องค์การสหประชาชาติ (UN) กำหนด ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวจิราพร สินธุไพร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน โดยในช่วงพิธีเปิดงานได้ฉายวิดีทัศน์การแถลงสารจากนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศนโยบายและเจตนารมณ์ในการรณรงค์ให้เกิดการอนุรักษ์แหล่งน้ำ ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า และร่วมปรับตัวต่อสถานการณ์น้ำของโลก
​               ในช่วงเสวนา หัวข้อ “Climate Change Adaptation” รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้กล่าวถึง แผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Thailand’s National Adaptation Plan: NAP) ในสาขาการจัดการทรัพยากรน้ำ การพัฒนาระบบการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System: EWS) ให้มีความแม่นยำและประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งจะเป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศได้อย่างเป็นรูปธรรม และเกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างหน่วยงานรัฐและทุกภาคส่วน ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมรับฟังเสวนาจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เอกอัครราชทูต ผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ และภาคประชาชน จำนวนกว่า 300 คน

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

กรมลดโลกร้อน จับมือ สกสว. สอวช. ทปอ. กำหนดทิศทางงานวิจัย เพิ่มความสามารถสังคมไทย มีภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตโลกเดือด

              เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ณ โรงแรม ทีเค. พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานสภานโยบายอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ร่วมแถลงความร่วมมือภายใต้บันทึกความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัย มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ เสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
               ดร. พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมลดโลกร้อน มีหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ผ่านกลไกการสนับสนุนและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ดังนั้น ความร่วมมือจึงเป็นส่วนสำคัญ โดยการเสริมสร้างขีดความสามารถ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของประเทศ รวมถึงการนำผลงานวิทยาศาสตร์ วิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ทั้งเชิงนโยบาย เชิงวิชาการ เชิงพาณิชย์ เชิงพื้นที่ อีกทั้งเกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลนักวิจัย ฐานข้อมูลวิจัย และการผลักดันงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ในวงกว้าง โดยความร่วมมือครั้งนี้ ได้จัดทำกรอบและแผนงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ เพื่อให้การวิจัย การพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ดำเนินไปในทิศทางเดียวกันและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศแบบคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งประกอบด้วย (1) กรอบงานวิจัยด้านการลดก๊าซเรือนกระจกที่ยั่งยืน (2) กรอบงานวิจัยด้านการสร้างภูมิคุ้มกันและยืดหยุ่นต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (3) กรอบงานวิจัยด้านงานวิจัยเชิงระบบ ตามความสำคัญ เร่งด่วน และสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ โดยได้วางเป้าหมายการดำเนินงานในประเด็นสำคัญและเร่งด่วนของการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติ อาศัยกลไกความร่วมมือของเครือข่ายภาคีด้านดำเนินการวิจัย ทั้งหน่วยงานกำหนดนโยบายด้านการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานจัดสรรทุนวิจัย และเครือข่ายการดำเนินงานวิจัย ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยผลักดัน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน เสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อไป
               ศาสตราจารย์ ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า สกสว. มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ให้กับหน่วยงานวิจัย (ทุนสนับสนุนงานมูลฐาน) และหน่วยบริหารและจัดการทุน (ทุนสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์) ในการส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและนักวิจัยทำการวิจัยและพัฒนา สนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และกำหนดท่าทีการเจรจาด้านการค้าการลงทุนและพันธกรณีระหว่างประเทศ การขับเคลื่อนนโยบายอย่างมีกลยุทธ์เพื่อการแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ตลอดจนการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและความยืดหยุ่นต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทิศทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ผลจากการวิจัยและนวัตกรรม มาพัฒนาองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมและระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมเท่าเทียม เพิ่มความสามารถของสังคมไทยในการสร้างภูมิคุ้มกันและยืดหยุ่นต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
               ดร.สุรชัย สถิตคุณารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) กล่าวว่า สอวช. มีภารกิจออกแบบและจัดทำข้อเสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) รวมถึงการจัดทำข้อเสนอการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบ อววน. และร่วมขับเคลื่อนกับภาคีเครือข่ายในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงทางพลวัตของโลก เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมไทยได้หลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง เสริมสร้างขีดความสามารถด้านนวัตกรรม และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ โดยใช้บทบาทการเป็นเลขานุการสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน อีกทั้ง สอวช. ยังมีบทบาทเป็นหน่วยงานประสานงานกลางด้านการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย (NDE) เป็นการดำเนินงานร่วมกับ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) และ กรมลดโลกร้อน เกี่ยวกับกลไกด้านเทคโนโลยีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้เห็นแนวโน้มในระดับนานาชาติ ที่มีการมุ่งเน้นเชื่อมโยงกลไกต่าง ๆ กับระบบนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นส่วนหนึ่งและเป็นเรือธงของยุทธศาสตร์ด้าน อววน. ที่ สอวช. ขับเคลื่อนอยู่ ผ่านโครงการริเริ่มและทำงานผ่านแผน ววน. กับหน่วยงานอย่าง สกสว. และภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ดังที่ปรากฏในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือฯ ที่ได้ดำเนินการร่วมกับ กรมลดโลกร้อน สกสว. และ ทปอ.
               ผศ.ดร.กฤษชัย ศรีบุญมา ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า ทปอ. จะเป็นกลไกหลักในการผลักดันและส่งเสริมการทำงานของเครือข่ายมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Campus) นำไปสู่ Low Carbon and Climate Resilient Society เป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงพื้นที่ รวมถึงพัฒนาบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ (Upskill and Reskill) ผลิตที่ปรึกษาและผู้ตรวจประเมินภายนอก สำหรับการตรวจสอบความใช้ได้และการทวนสอบ (Validation and Verification) ด้านก๊าซเรือนกระจก และพัฒนาแพลตฟอร์มกลางติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเครือข่ายมหาวิทยาลัย ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยผลักดัน ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เสริมสร้างขีดความสามารถ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพของประเทศต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

หลักสูตร การจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน รุ่นที่ 1, รุ่นที่ 2, รุ่นที่ 3 และ รุ่นที่ 4

โค้งสุดท้าย กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
ขอเชิญ ผู้สนใจสมัครเข้ารับการอบรม
หลักสูตร “การจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สำหรับผู้ปฏิบัติงาน รุ่นที่ 1 – รุ่นที่ 4” ดังนี้
รุ่นที่ 1 : วันอังคารที่ 1 เมษายน 2568 ณ ศิริปันนา วิลล่า รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดเชียงใหม่
รุ่นที่ 2 : วันอังคารที่ 8 เมษายน 2568 ณ Mayflower Grande Hotel Phitsanulok จังหวัดพิษณุโลก
รุ่นที่ 3 : วันอังคารที่ 22 เมษายน 2568 ณ โรงแรมขอนแก่นโฮเต็ล จังหวัดขอนแก่น
รุ่นที่ 4 : วันอังคารที่ 29 เมษายน 2568 ณ โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หมดเขตรับสมัครเฉพาะรุ่นที่ 1 วันที่ 26 มีนาคม 2568 ประกาศผลการคัดเลือกเฉพาะรุ่นที่ 1 วันที่ 28 มีนาคม 2568
รูปแบบ 🚦🚦: Onsite จำกัดเพียงรุ่นละ 125 คนเท่านั้น
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร ? 👩‍💼👨‍💼บุคลากรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน รวมทั้งสมาชิกเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน (ทสม.) ที่เกี่ยวข้องหรือรับผิดชอบงานด้านการจัดการขยะ
สมัครเลย : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfMMC2bOrRWPOd_3gdmHlQgi15ctWNGe11HwMDx7IYeooG-bQ/viewform
คู่มือการฝึกอบรม : https://drive.google.com/drive/mobile/folders/1yxCbIJa6oTxqc09D5red2WGCya-7gNoN?usp=sharing
อย่าพลาด!!! 

ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน

ประกาศร่าง TOR ประกวดราคาจ้างจัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e-bidding วิจารณ์ 21-26 มีนาคม 2568 โทร 02-2788400 ต่อ 8453 e-mail dccecenter@dcce.mail.go.th