ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างเหมาบริการรถยนต์ จำนวน 1 คัน พร้อมพนักงานขับรถยนต์ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2568 ณ จังหวัดชัยนาท และจังหวัดราชบุรี โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

ประกาศผู้ชนะการเสนอราคา จ้างเหมาบริการรถยนต์ จำนวน 1 คัน พร้อมพนักงานขับรถยนต์ ระหว่างวันที่ 20 – 25 เมษายน 2568 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดพัทลุง โดยวิธีเฉพาะเจาะจง

ประกาศร่าง TOR ประกวดราคาซื้อรถตู้พลังงานไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง (1 คัน) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e-bidding วิจารณ์27 มีนาคม – 1 เมษายน 2568 โทร 02-2788400-19 ต่อ 1216 e-mail dccecenter@dcce.mail.go.th

ร่างประกวดราคาซื้อรถตู้โดยสารพลังงานไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง (1 คัน)

ราคากลางซื้อรถตู้พลังงานไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง (1 คัน) ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์

ราคากลางซื้อรถตู้โดยสารพลังงานไฟฟ้า ขนาดไม่น้อยกว่า 12 ที่นั่ง (1 คัน)

กรมลดโลกร้อน เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ “NDC 3.0” ตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจก 109.2 ล้านตัน ภายในปี 2578

               วันที่ 27 มีนาคม 2568 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จัดประชุมนำเสนอผลการศึกษา เป้าหมาย แนวทาง และมาตรการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ภายใต้ NDC 3.0 พร้อมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย ฉบับที่ 2 หรือ “NDC 3.0” โดยจะยกระดับเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกประเทศไทยให้ได้ 109.2 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี พ.ศ. 2578 เพื่อรักษาอุณภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาคประชาสังคม หน่วยงานในระดับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท และผ่านระบบออนไลน์ รวมกว่า 250 คน
               ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ประเทศไทยจะเดินหน้ายกระดับเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ภายใต้ NDC 3.0 ซึ่งมีกำหนดเสนอต่อสำนักเลขาธิการของ UNFCCC ภายในเดือนกันยายน 2568 ก่อนการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 30 (COP30) ณ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2568 โดย NDC 3.0 จะเปลี่ยนรูปแบบการกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก ที่เปรียบเทียบกับกรณีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามปกติ ที่ไม่มีการดำเนินมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก (Business as Usual: BAU) ไปเป็นการเปรียบเทียบกับระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจริง ณ ปี ค.ศ. 2019 หรือ Absolute Emissions Reduction Target ครอบคลุมทุกภาคส่วนเศรษฐกิจ (Economy-Wide) พร้อมตั้งเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ ไม่เกิน 152 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (MtCO₂e) ภายในปี ค.ศ. 2035 ซึ่งรวมการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการใช้ประโยชน์จากที่ดิน (LULUCF) ที่คาดว่าจะสามารถดูดกลับได้ ไม่น้อยกว่า 118 MtCO₂e จะทำให้ประเทศไทย ลดก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการเองในประเทศ (Unconditional Target) ได้ 76.4 MtCO₂e และจากการขอรับการสนับสนุนจากต่างประเทศ (Conditional Target) อีก 32.8 MtCO₂e ซึ่งหากประเทศไทยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ จะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ถึง ร้อยละ 60 จากปีฐาน ค.ศ. 2019 ถือเป็นหมุดหมายสำคัญสู่เส้นทางการจำกัดอุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยโลกไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส
               ดร.พิรุณ กล่าวต่อว่า มาตรการสำคัญที่ประเทศไทยจะสามารถยกระดับการลดก๊าซเรือนกระจกได้ถึงร้อยละ 60 นั้น มาจากการขยายผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 – 2573 ซึ่งจะเป็นการดำเนินการเองได้ในภายในประเทศ และการขอรับการสนับสนุนจากต่างประเทศในเทคโนโลยีที่มีการลงทุนสูง ได้แก่ เทคโนโลยีไฮโดรเจนในภาคการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม Battery Energy storage System (BESS) เทคโนโลยีดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCUS) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก (Small Modular Reactors: SMR) การผลิตปูนซีเมนต์แบบปล่อยคาร์บอนต่ำ เทคโนโลยีการกำจัดของเสียและสารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปลูกข้าวแบบปล่อยคาร์บอนต่ำ การปรับปรุงพันธุ์และอาหารสัตว์ เป็นต้น

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา ประกวดราคาจ้างผลิตและเผยแพร่รายการออนไลน์ต้นแบบเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืน ผ่านสื่อออนไลน์ยอดนิยม ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ e-bidding

กรมลดโลกร้อน มอบรางวัล “233 G-Green” พัฒนาต้นแบบผู้ประกอบการไทย ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคมคาร์บอนต่ำ

               วันที่ 26 มีนาคม 2568 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (กรมลดโลกร้อน) จัดพิธีมอบรางวัลตราสัญลักษณ์ G – Green ระดับประเทศ เชิดชูเกียรติ สถานประกอบการและหน่วยงาน ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินรับรองความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ปี 2567 ภายใต้ตราสัญลักษณ์ G – Green จำนวน 233 แห่ง โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธี ณ โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
               นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า ในปี 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดตัว Green Hotel Plus ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐาน Green Hotel ที่ Global Sustainable Tourism Council ให้การยอมรับ เทียบเท่าเกณฑ์ของ GSTC ระดับสากล เป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างความเชื่อมั่นและโอกาสทางธุรกิจให้กับประเทศไทย นอกจากนี้ ยังได้ดำเนินการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ สำหรับผู้ประกอบการ อีกทั้ง ได้ร่วมมือกับ มูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืนจังหวัดภูเก็ต และภาคีเครือข่าย ดำเนินโครงการ Green Hotel Plus Phuket Sandbox ส่งเสริมโรงแรมที่พักในจังหวัดภูเก็ตกว่า 600 แห่ง ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน Green Hotel Plus เพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมการท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลก หรือ GSTC 2026 ที่จะจัดขึ้นในปีหน้า (วันที่ 31 มีนาคม – 4 เมษายน 2569) ณ จังหวัดภูเก็ต
               นายจตุพร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการขับเคลื่อนเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ การบรรลุเป้าหมายของประเทศ ไม่สามารถทำได้โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยภาคีเครือข่ายทั้ง ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่พร้อมรับปรับตัวและปรับเปลี่ยนประเทศไทย สู่สังคมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน
               “รางวัลตราสัญลักษณ์ G-Green ในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์อันยาวไกล และความเป็นผู้นำองค์กรที่โดดเด่น กล้าที่จะเปลี่ยนแปลง มีความตระหนักถึงสถานการณ์โลก และรับผิดชอบต่อสังคม ขอให้รักษามาตรฐานและร่วมเป็นภาคีขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เศรษฐกิจเขียวและสังคมคาร์บอนต่ำ ร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีและส่งต่อสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ให้กับอนุชนรุ่นหลังต่อไป” นายจตุพร กล่าว
               ด้าน ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมลดโลกร้อน ได้ดำเนินการส่งเสริมการผลิตการบริการ และการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (G Green) ประกอบด้วย “Green Production” การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “Green Hotel” โรงแรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “Green National Park” อุทยานแห่งชาติสีเขียว “Green Office” สำนักงานสีเขียว “Green Restaurant” ร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “Green Residence” ที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการขึ้นทะเบียนและรับรองผลิตภัณฑ์ในประเภท “ECO Plus” และ “UPCYCLE Circular Economy”
               โดยในวันนี้ มีสถานประกอบการและหน่วยงาน รับรางวัลตราสัญลักษณ์ G – Green ระดับประเทศ รวมจำนวน 233 แห่ง ประกอบด้วย “ระดับ G – Plus” จำนวน 13 แห่ง “ระดับดีเยี่ยม” จำนวน 96 แห่ง “ระดับดีมาก” จำนวน 86 แห่ง “ระดับดี” จำนวน 32 แห่ง “ผลิตภัณฑ์ G – Upcycle และผลิตภัณฑ์ ECO Plus” ที่ได้การรับรองความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงาน เครือข่าย G – Green ได้แก่ นิทรรศการส่งเสริมการผลิต การบริการ และการบริโภคที่ยั่งยืน นิทรรศการ Green Hotel Plus จากโรงแรมสุโขทัย นิทรรศการ Green Office จาก องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย รวมถึงการนำเสนอตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Production เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างแรงบันดาลใจให้กับสถานประกอบการและองค์กรอื่น ๆ ในการริเริ่มพัฒนากิจกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและภูมิอากาศต่อไป

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญาจ้างที่ปรึกษาพัฒนาระบบการประเมินการสะสมคาร์บอน (Carbon Pool) ของพื้นที่สีเขียวในเมืองของประเทศไทย

ข้อมูลสาระสำคัญในสัญญา 49-2568