เดือน: มีนาคม 2568
กรอบและแผนงานวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ พ.ศ. 2570-2575
กรอบและแผนงานวิจัยด้านงานวิจัยเชิงระบบ (System Research)
กรอบและแผนงานวิจัยด้านการลดก๊าซเรือนกระจก (Mitigation)
กรมลดโลกร้อน มอบใบประกาศผู้สนับสนุนกิจกรรม “we can run : Fund for legs” ปีที่ 2
วันที่ 29 มีนาคม 2568 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดย นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มอบใบประกาศให้กับผู้สนับสนุนกิจกรรม ได้แก่ มูลนิธขาเทียม และภาคีเครือข่าย รวมจำนวน 30 หน่วยงาน ภายใต้กิจกรรม เดิน-วิ่ง มินิมาราธอน “we can run : Fund for legs” ปีที่ 2 โครงการ Recycle for Life เพื่อมูลนิธิขาเทียม ในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มีกำหนดจัดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (30 มีนาคม 2568) ณ บริเวณลานกลางท้องสนามหลวง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
การจัดงานในวันนี้มีบูธกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งการแลกรับเสื้อและ BIB การร่วมบริจาคกระป๋องอลูมิเนียม รวมถึงบูธกิจกรรมของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยประกอบไปด้วยกิจกรรมการให้ความรู้การรักษ์โลกในชีวิตประจำวัน ร้านกาแฟที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะพลาสติก เกมการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง แผนภูมิดัชนีความร้อน (heat index chart) และบูธกิจกรรมของหน่วยงานต่างๆ รวมกว่า 30 หน่วยงาน ซึ่งมีผู้มาร่วมกิจกรรมและเอากระป๋องมารับเสื้อและบิบ เป็นจำนวนกว่า 2,700 คน
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
กรมลดโลกร้อน ร่วมเชิดชูเกียรติภาคีเครือข่าย 17 จังหวัด ภายใต้โครงการ “กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้”
วันนี้ (วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2567) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดย นางสาวระเบียบ ภูผา ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นประธานมอบโล่เกียรติยศและเกียรติบัตรในพิธีเชิดชูเกียรติ โครงการ “กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้” พร้อมด้วยนายปฏิญญา ศิลสุภดล ผู้อำนวยการฝ่ายความยั่งยืน บริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด นายวัชรพงศ์ อึงศรีสวัสดิ์ ผู้อำนวยการเขตประเทศไทย ลาว พม่าและกัมพูชา บริษัท เอสไอจี คอมบิบล็อก จำกัด โดยมีภาคีเครือข่าย 17 จังหวัด เข้ารับรางวัล ณ ห้องประชุมศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ชั้น 2 อาคารกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมฯ ได้ร่วมรณรงค์ในโครงการ “กล่องยูเอชที รีไซเคิลได้” ตั้งแต่ปี 2561 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการกล่องยูเอชทีภายหลังจากการบริโภคอย่างถูกวิธี เพื่อนำกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม
ปัจจุบันโครงการฯ รวบรวมกล่องยูเอชทีกลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้กว่า 2,947 ตัน หรือ 294 ล้านกล่อง สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 12,539.96 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้โครงการฯ สามารถต่อยอดถึงภาคประชาสังคม โดยการนำเยื่อกระดาษที่ได้จากการรีไซเคิลกล่องยูเอชทีที่รวบรวมได้ตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ มาผลิตเป็นกระดาษรีไซเคิลคุณภาพดี เพื่อมอบเป็นอุปกรณ์การศึกษาแก่นักเรียนผู้มีความบกพร่องทางสายตา จาก 16 โรงเรียนสอนคนตาบอดทั่วประเทศ นับเป็นการส่งเสริมการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ภายในงานมีภาคีเครือข่าย ครู นักเรียน เข้าร่วมจากทั่วประเทศกว่า 150 คน รวม 54 รางวัล
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”