เดือน: มิถุนายน 2567
ประกาศผู้ชนะการเสนอราคาประกวดราคาจ้างผลิตและเผยแพร่กิจกรรมออนไลน์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
8 มิถุนายน วันทะเลโลก (World Oceans Day)

8 มิถุนายน วันทะเลโลก (World Oceans Day) เป็นวันที่องค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้นเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกให้คนทั้งโลกหันมาสนใจและรักษ์ทะเลกันมากขึ้น
ความสำคัญของวันทะเลโลก
เป็นแหล่งผลิตออกซิเจน ควบคุมสภาพอากาศ เป็นแหล่งอาหารและทรัพยากรธรรมชาติ
รู้หรือไม่ว่า Blue Carbon คือ สมบัติล้ำค่าใต้ท้องทะเล
คาร์บอนที่ถูกดูดซับและกักเก็บไว้โดยระบบนิเวศทางทะเล เช่น ป่าชายเลน หญ้าทะเล และทุ่งหญ้าทะเล ระบบนิเวศเหล่านี้เปรียบเสมือนฟองน้ำธรรมชาติ ดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศ กักเก็บไว้ในรูปของชีวมวล ตะกอนดิน และคาร์บอนอินทรีย์ใต้พื้นดิน
Blue Carbon สามารถกักเก็บคาร์บอนได้มากกว่าป่าไม้ถึง 10 เท่า ช่วยบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถดึงคาร์บอนประมาณ 50-90% ไปกักเก็บไว้ในใต้ดินที่มีน้ำทะเลท่วมขัง ซึ่งช่วยชะลอการเน่าเปื่อยของอินทรีย์วัตถุ และช่วยเพิ่มปริมาณการสะสมคาร์บอนในดิน เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลหลากหลายชนิด ช่วยสนับสนุนระบบนิเวศทางทะเล ป้องกันชายฝั่ง ช่วยลดการกัดเซาะชายฝั่ง ป้องกันภัยพิบัติจากคลื่นลมแรง พวกเราทุกคนสามารถช่วยรักษาทะเลไว้ได้
เริ่มต้นที่ตัวเรา!!! เลิกทิ้งขยะ สารเคมี น้ำเสีย ลงทะเล กระตุ้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ปกป้องระบบนิเวศฟื้นฟูป่าชายเลน หญ้าทะเล ทุ่งหญ้าทะเล แหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญของทะเลให้คงอยู่กับเราตลอดไป เพราะสิ่งเหล่านี้มีความสำคัญอย่างมากในการยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก
แหล่งที่มา :
– Blue Carbon Society
– UN world oceans day
– มูลนิธิอนุรักษ์สัตว์ป่าแห่งประเทศไทย
– กรีนพีซประเทศไทย
– องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
– SD Thailand
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
สส. ร่วมงาน Thailand International Chemical Engineering and Chemical Technology Asia (TNChE Asia 2024)

เมื่อวันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย นายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ให้เกียรติเป็น Keynote Speaker ในงาน Thailand International Chemical Engineering and Chemical Technology Asia (TNChE Asia 2024) ภายใต้ธีม “Decarbonization Automation and Digital Transformation for Sustainability in Process Industries” โดยงาน TNChE Asia 2024 เป็นแพลตฟอร์มระหว่างประเทศที่นักวิจัย นักวิชาการ และผู้มีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้ประกอบการในวงการอุตสาหกรรม มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และนำเสนอผลงานวิจัยและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมเคมีและเทคโนโลยี กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมดุสิตธานี เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
โดยนายปวิช เกศววงศ์ ได้บรรยายในหัวข้อ “Global Movement from COP28 and Decarbonization Actions of Thailand” ในประเด็นสถานการณ์และแนวโน้มด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระดับโลกและระดับประเทศ การทบทวนสถานการณ์และการดำเนินงานระดับโลก Global Stocktake (GST) การขับเคลื่อนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระดับโลกสู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานภายในประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ ทั้งมิติการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Mitigation) ผ่านร่างแผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564 -2573 และมิติการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Adaptation) ผ่านแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ รวมทั้งการผลักดัน ร่าง พรบ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. …. ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของประเทศไทยเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี ค.ศ. 2065
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”
“DCCE” ผนึกกำลัง “Central Pattana” ขับเคลื่อน Partnership สู่เป้าหมาย Net Zero

วันพุธที่ 19 มิถุนายน 2567 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ดร.พิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงาน Central Pattana Green Partnership 2024 ณ Centralworld Offices ชั้น 3 กรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้แทนจากบริษัทเซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) คุณอุทัยวรรณ อนุชิตานุกูล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบริหารความเป็นเลิศและการพัฒนาที่ยั่งยืน คุณขวัญฤทัย อุนานุภาพ Head of Food, Special & Service Partner Management และเครือข่ายผู้ประกอบการกว่า 100 แบรนด์ เข้าร่วมงาน
ทั้งนี้ โครงการ Central Pattana Green Partnership ร่วมสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการร้านค้าและผู้เช่า ส่งเสริมการมีส่วนร่วมลดปัญหาโลกร้อนด้วยแนวทางประหยัดพลังงานไฟฟ้า และการสร้างความเข้าใจถึงผลกระทบและความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน และเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจด้านการลดก๊าซเรือนกระจก นำพาประเทศไทยไปสู่เป้าหมาย Net-Zero Thailand ที่มุ่งเน้นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน และรักษาระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมและการเกษตร รวมทั้งเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียวควบคู่กันไป เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการปล่อยกับการดูดกลับรวมถึงกักเก็บคาร์บอน และการส่งเสริมมาตรการต่าง ๆ เพื่อช่วยเสริมศักยภาพให้ภาคธุรกิจของไทยโดยเฉพาะ SMEs ในการลงทุนในเทคโนโลยีต่าง ๆ การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การส่งเสริมพลังงานทดแทนและเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ
โดยในปี 2566 ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการกว่า 50 แบรนด์ จำนวน 1,000 ร้านค้าทั่วประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ 719,171 kW-hr คิดเป็นปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 360 tCO2eq
“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”