การประชุมด้านสภาพภูมิอากาศโลก(Conference of Parties: COP)
ประเด็นสำคัญจากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 28 (COP28) ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 12 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีประเด็นสำคัญ ดังนี้
ด้านการลดก๊าซเรือนกระจก
– เร่งเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่เป็นธรรมของประเทศกำลังพัฒนา จากพลังงานฟอสซิลไปเป็นพลังงานสีเขียว
– เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน 3 เท่า เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2 เท่า เฉลี่ยทั่วโลกภายในปี ค.ศ. 2030
– ลดใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และยกเลิกการอุดหนุนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่มีประสิทธิภาพ
– ลดการใช้และจำกัดการอนุญาตผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน ที่ไม่มีการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
– เร่งพัฒนาเทคโนโลยี ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำหรือเป็นศูนย์ รวมถึงการใช้ การดักจับ และกักเก็บคาร์บอน
ด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– ลดผลกระทบความเสี่ยง ความเปราะบาง เพิ่มศักยภาพในการปรับตัวฯ ติดตามผลการดำเนินงาน ภายในปี ค.ศ. 2030
– ทุกประเทศจะต้องมีระบบเตือนภัยที่ครอบคลุมความเสี่ยง และให้บริการข้อมูลภูมิอากาศ ภายในปี ค.ศ. 2027
ด้านการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
– เร่งติดตามการสนับสนุนทางการเงินของประเทศพัฒนาแล้ว >> 1 แสนล้าน USD ต่อปี ภายในปี ค.ศ. 2025 ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา
– ผลักดันการสนับสนุนทางการเงินแบบให้เปล่า (Grants) หรือ เงินกู้ผ่อนปรน (Concessional Loans) ตามเป้าหมายอย่างโปร่งใส
– ในการประชุม COP29 ควรเห็นแนวทางในการกำหนดเป้าหมายทางการเงินหลังปี ค.ศ. 2025 ที่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศกำลังพัฒนา
กองทุนสำหรับการสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage Fund) >> เงินสนับสนุน 792 ล้าน USD เยียวยาการสูญเสียและความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะ โดยเฉพาะในประเทศที่มีความเปราะบาง จะต้องเริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 2024
การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย
การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จะสำเร็จได้จะต้องมีความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในประเทศ และต่างประเทศ สู่เป้าหมายตามที่ได้ประกาศไว้ ดังนี้
– สื่อสารกับทุกภาคส่วน สร้างการมีส่วนร่วม
>> สร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนและภาคประชาสังคม
>> เปลี่ยนผ่านนโยบาย และการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ
– เร่งจัดทำ พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือกำกับดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวฯ กลไกการเงินที่เหมาะสมและเข้าถึงได้ และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
– เร่งพัฒนาศักยภาพในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน
– พัฒนาศูนย์ข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ บูรณาการ เชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้บริการข้อมูลภูมิอากาศ ครอบคลุมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่
– พัฒนาระบบติดตามการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และระบบบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย สอดคล้องกับการพัฒนาระบบการรายงานผลการดำเนินงานของกรอบอนุสัญญาฯ เพื่อรองรับการทบทวนสถานการณ์การดำเนินงานระดับโลก (Global Stocktake) และเป้าหมายระดับโลก