โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี


โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ความเป็นมา

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยในปี 2503 ทรงมีพระราชดำริที่จะสงวนป่าต้นยางที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ไว้เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่สามารถทำได้เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนในบริเวณนั้นมาก ในปี 2504 จึงทรงทดลองปลูกต้นยางเอง ในเขตอำเภอท่ายาง พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกต้นยางนาเหล่านั้นในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพรรณไม้จากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ มาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดา เพื่อให้เป็นที่ศึกษาพรรณไม้ ต่อมาในปี 2529 ทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่โครงการส่วน พระองค์ฯ โดยได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน

เดือนมิถุนายน พ.ศ.2535 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขาธิการพระราชวังและผู้อำนวยการโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา ให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้เริ่มดำเนินการโดยฝ่ายวิชาการโครงการส่วนพระองค์ฯ สำหรับงบประมาณดำเนินงานนั้น สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้สนับสนุนให้กับโครงการส่วนพระองค์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี 2536 สำหรับเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานทุกกิจกรรมของโครงการ พ.ศ 2536 จนถึงปัจจุบัน

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.rspg.or.th/information/index.htm

สัญลักษณ์โครงการ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานให้ ชมพูภูคา เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ชมพูภูคา เป็นพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ที่มีดอกสีชมพูอมขาวงดงาม ควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ตามแนวพระราชดำริ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bretschneidera sinensis Hemsl.

ชื่อวงศ์ : BRETSCHNEIDERACEAE

เป็นไม้ต้นสูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกเรียบสีเทา ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว 30-80 เซนติเมตร ใบย่อยไม่มีก้านใบ รูปหอกถึงรูปไข่ กว้าง 2.5-6 เซนติเมตร ยาว 8-25 เซนติเมตร โคนใบมนไม่เท่ากัน ปลายใบแหลม ดอก สีชมพู คล้ายรูประฆัง ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ช่อยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร กลีบรองดอกขนาดใหญ่ รูปถ้วยขอบหยักตื้นๆ กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กว้าง โคนกลีบเรียวยาว ปลายกลีบม้วนออกด้านนอก ขนาด 1.8-2 เซนติเมตร กลีบบนมักคว่ำลง เกสรผู้ 8 อัน ผล รูปกระสวย แก่แล้วแตก เมล็ด รูปรี กว้าง 12 มิลลิเมตร ยาว 20 มิลลิเมตร

ชมพูภูคา พันธุ์ไม้ใกล้สูญพันธุ์ของโลก ซึ่งพบเฉพาะที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลถึง 1,980 เมตร ดอยภูคานับเป็นยอดดอยที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของเทือกเขาหลวงพระบาง และเป็นยอดดอยที่สูงในลำดับต้นๆ ของประเทศไทย ซึ่งจากสภาพดังกล่าวนี้ทำให้เทือกดอยภูคา มีลักษณะโดดเด่น ในด้านระบบนิเวศของพืชพรรณภูเขาสูงอันอุดมไปด้วยป่าดงดิบเขา ป่าดงดิบชื้น รวมทั้งป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง อีกทั้งเป็นป่าต้นน้ำของแม่น้ำน่านอีกด้วย พันธุ์ไม้ที่สำคัญที่สุดและพบเพียงแห่งเดียวในโลกที่นี่คือ ชมพูภูคา ซึ่งเป็นต้นไม้พื้นเมืองของไทย และเป็นพันธุ์ไม้หายาก ใกล้สูญพันธุ์ชนิดหนึ่งของโลก โดยเมื่อประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา มีรายงานว่าพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้ ที่มณฑลยูนานประเทศจีน แต่ปัจจุบันคาดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการสำรวจพบพันธุ์ไม้ชนิดนี้เมื่อมี พ.ศ. 2532 บริเวณป่าดงดิบเขาดอยภูคา อุทยานแห่งชาติดอยภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน โดยลักษณะต้นชมพูภูคานี้จะสูงประมาณ 25 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 50 เซนติเมตร เปลือกเรียบเป็นสีเทา ใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวมีใบย่อยรูปไข่แกมรูปใบหอก ปลายใบแหลมยาว แผ่นใบด้านล่างมีนวลสีขาว ช่อดอกตั้งตรงแยกแขนงออกตามปลายกิ่งกลีบเลี้ยงติดกันคล้ายรูประฆัง กลีบดอกสีชมพูมีริ้วสีแดง ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ผลคล้ายมะกอกแต่มีขนาดใหญ่กว่า พันธุ์ไม้ชนิดนี้จากการศึกษาพบว่าจะเจริญเติบโตได้ดีบริเวณป่าดงดิบเขาตามไหล่เขาสูงชันที่มีความสูงตั้งแต่ 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป และมีความชื้นของอากาศสูงอุณหภูมิเฉลี่ยค่อนข้างต่ำตลอดทั่งปี ปัจจุบันได้มีการทดลองเพาะกล้าไม้ชมพูภูคาจากเมล็ดเป็นผลสำเร็จซึ่งคาดว่าจะช่วยให้ชมพูภูคาไม่สูญพันธุ์จากโลกนี้ต่อไป

* ที่มาข้อมูลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ว่าด้วยเรื่องนิเวศธรรมชาติในเมืองไทย-ภาคเหนือ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.rspg.or.th/information/information_2.htm

เป้าหมายและวัตถุประสงค์โครงการ

เป้าหมาย :

– เพื่อพัฒนาบุคลากรอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชและทรัพยากร

– ให้เกิดประโยชน์กับมหาชนชาวไทย

วัตถุประสงค์ :

– ให้เข้าใจและเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืชและทรัพยากร

– ให้ร่วมคิด ร่วมปฏิบัติ จนเกิดประโยชน์ถึงมหาชนชาวไทย

– ให้มีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชและทรัพยากร สื่อถึงกันได้ทั่วประเทศ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.rspg.or.th/information/information_3.htm

คณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ประกาศโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง คณะกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อให้การดำเนินงานของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ประสบความสำเร็จเป็นผลประโยชน์แท้และให้เป็นไปตามการปรับโครงสร้างหน่วยงานใหม่ ตามการปฏิรูประบบราชการ รายชื่ออธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เป็นกรรมการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

ประกาศ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

  1. รับนโยบายและกรอบการดำเนินงานของส่วนราชการ หน่วยงานในการสนองพระราชดำริ หรือสนับสนุน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
  2. หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน และองค์กร ไปแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานของตน โดยเสนอรายชื่อผ่านเลขาธิการพระราชวัง ในฐานะผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อนำความกราบบังคมทูลทรงทราบฝ่าละอองพระบาท
  3. หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานและองค์กร อำนวยการ สนับสนุนให้การดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ในพื้นที่และเขตความรับผิดชอบของตนให้เป็นไปตามเป้าหมายวัตถุประสงค์

ดาวน์โหลดที่นี่

http://www.rspg.or.th/masterplan/files/rspg_announcement_1_2567.pdf

หน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.rspg.or.th/rspg_co_agencies/index.html

คณะจัดทำแผนแม่บท หน่วยงานร่วมสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้แบ่งหน่วยงาน ภาคีเครือข่าย ทุกภาคส่วน ไว้ 10 กลุ่ม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (เดิม) กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (ปัจจุบัน) ได้จัดให้อยู่ใน G9 หน่วยงานสนับสนุน

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.rspg.or.th/rspg_co_agencies/g9/10_DEQP/g9_deqp.html

เว็บไซต์หน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริฯ และหน่วยงานสนับสนุนการดำเนินงาน

http://www.rspg.or.th/weblinks/index.htm

การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๖6 กำหนดให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมมีภารกิจเกี่ยวกับการจัดการ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมของประเทศ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศด้านการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ โดยให้มีหน้าที่และอำนาจ เสนอแนะและจัดทำนโยบาย แผน และมาตรการ เกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ การลดก๊าซเรือนกระจก และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย แผน และมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจัดทำรายงานสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสนอแนะแนวทางและท่าทีในการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศและต่างประเทศในการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ รวบรวม จัดทำ และให้บริการข้อมูลและข้อสนเทศด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีต่าง ๆ จัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกของประเทศ และสนับสนุนการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจกในระดับพื้นที่ การดำเนินภารกิจให้บรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร “ ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน ” และเป็นไปตามค่านิยมขององค์กร ค่านิยม “DCCE” D (Digitalization) คือ ขับเคลื่อนการเป็นองค์กรดิจิทัลเต็มรูปแบบ C (Collaboration) คือ สร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือทุกภาคส่วน C (Climate Action) คือ ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อประชาชน E (Environmental Responsibility) คือ ยึดมั่นความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจึงให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการดำเนินภารกิจ

การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

การดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีความมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้บุคลากรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ผลักดันและสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อกำหนด และระเบียบกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามกรอบนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการสื่อสารนโยบายดังกล่าวให้แก่บุคลากรของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่เกี่ยวข้อง และเผยแพร่ต่อสาธารณชนทราบและถือปฏิบัติต่อไป จึงยกเลิกประกาศกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เรื่อง นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และได้ปรับปรุงนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และแนวทางปฏิบัติและวิธีดำเนินการ ให้สอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 เพื่อให้การจัดการสำนักงานสีเขียว (Green Office) และรักษาระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดพร้อมแจ้งเวียนนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมกำหนดแนวทางปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) และระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 เพื่อให้บุคลากรของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2567 ยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน โดยมีกรอบนโยบาย ดังนี้

  1. ดำเนินงานให้สอดคล้องตามกฎหมาย ข้อกำหนดและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
  2. ส่งเสริมให้บุคลากรของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม มีความตระหนักรู้ สำนึกรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติราชการที่รองรับชีวิตและการทำงานวิถีใหม่
  3. ส่งเสริมให้บุคลากรมีการดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันและควบคุมมลพิษ ณ แหล่งกำเนิด ให้เป็นไปตามมาตรฐาน คัดแยกขยะและนำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการหมุนเวียนของทรัพยากรตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
  4. สร้างสภาพแวดล้อมของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมให้มีความน่าอยู่และเอื้อต่อการทำงาน ส่งเสริมให้บุคลากรของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมร่วมมือในการรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สุขอนามัย และดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
  5. เลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  6. กำหนดให้ตัวชี้วัดการดำเนินงานตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียว เป็นตัวชี้วัดการประเมินผลการปฏิบัติราชการรายบุคคล

แผนการดำเนินงาน และเป้าหมายการใช้ทรัพยากรและพลังงาน การจัดการสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งกำหนดกิจกรรมหรือโครงการที่มีนัยสำคัญเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมาย


แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารด้านสิ่งแวดล้อม


คณะกรรมการตรวจประเมินสิ่งแวดล้อมภายในกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม


ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office)


การกำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและแต่งตั้งคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมภายใน สำนัก/ศูนย์/กอง


การติดตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ภายใต้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ 2567


ผลการปฏิบัติตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้กำหนดตามคู่มือการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) และระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015

หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม

1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร

1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุและขอยกระดับสำนักงานสีเขียว)

1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง


หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก

2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ

2.1 การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ 2.2 การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน


หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน

3.1 การใช้น้ํา

3.2 การใช้พลังงาน

3.3 การใช้ทรัพยากรอื่น ๆ

3.4 การประชุมและการจัดนิทรรศการ


หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย

4.1 การจัดการของเสีย

4.2 การจัดการน้ำเสีย

ประกอบด้วย
1. โครงการสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE)
2. ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
………………………………………………………
โครงการสำนักงานสีเขียว (GREEN OFFICE)
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองสำนักงานสีเขียว ปี พ.ศ. 2565 (Green Office) ระดับดีเยี่ยม
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 ปี พ.ศ. 2565

ISO 14001 คือ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environment management System) ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากหน่วยงานองค์กรทั่วโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้องค์กรมีความตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจ โดยมุ่งเน้นในการป้องกันมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และลดต้นทุนการผลิตในธุรกิจ

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จึงได้ดำเนินการจัดทำและดำเนินการตามมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015 กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อให้บุคลากรของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อกำหนดต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อนำไปสู่การบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นระบบ เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดค่าใช้จ่ายในการจัดการของเสีย รวมทั้งช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร สร้างความเชื่อมั่นในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีขององค์กร เป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับการตรวจประเมินจากองค์กรที่ให้การรับรองระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015

โครงการภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โครงการภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก
เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล
เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
1. หลักการและเหตุผล
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2567 นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษยิ่งที่ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป จะได้แสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใย คำนึงถึงความอยู่ดีมีสุขของประชาชน และทรงมีพระราชปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชกรณียกิจ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ในการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชนและประเทศชาติ โดยเฉพาะการสานต่อพระราชดำริเกี่ยวกับการอนุรักษ์ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการและต่อเนื่อง เพื่อให้คนและธรรมชาติสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน ประกอบกับคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ให้หน่วยงานดำเนินการเสนอโครงการและกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทภารกิจสำคัญในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้บรรลุเป้าหมายของประเทศ สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2065 ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้บูรณาการสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนภารกิจที่หลากหลายบริบทพื้นที่ และหลากหลายประเภทกิจกรรม เช่น การจัดการของเสีย การปลูกป่า/ต้นไม้ การอนุรักษ์หรือฟื้นฟูป่า การใช้พลังงาน การขนส่งพลังงาน หรือพัฒนาพลังงานทดแทน เป็นต้น ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการปลดปล่อย และการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของประเทศได้
ดังนั้น เพื่อร่วมแสดงพลังการขับเคลื่อนการดำเนินงานในการลดก๊าซเรือนกระจกของภาครัฐที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก รวมถึงสร้างความตระหนักให้แก่องค์กร หน่วยงาน และชุมชน ในการมีส่วนร่วมลดก๊าซเรือนกระจก และดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงได้ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จัดโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ขึ้น เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงความจงรักภักดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่หาที่สุดมิได้ที่มีต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาสมดุลของระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อนำมาสู่ความผาสุกของพี่น้องปวงชนชาวไทยอย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อเแลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
2.2 เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก และสร้างพลังการขับเคลื่อนการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก
2.3 เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เป็นแบบอย่างที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
3. กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 แห่ง
3.1 หน่วยงานทุกภาคส่วนที่เข้าร่วมโครงการ
3.2 ภาคีเครือข่าย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. รูปแบบการดำเนินการ
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ดำเนินการ ดังนี้
4.1 การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมโครงการฯ ผ่านช่องทางต่างๆ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2567
(1) ประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
(2) สื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
(3) สร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน และการเข้าร่วมโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก”
4.2 การดำเนินโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” ระหว่างเดือนมิถุนายน – กันยายน 2567
(1) สนับสนุนให้หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และกรอบระยะเวลาที่กำหนด
(2) รวบรวมจัดเก็บข้อมูลหน่วยงานที่เข้าร่วมโดดดครงการฯ ตามประเภทของกิจกรรมที่ลดก๊าซเรือนกระจก
(3) สรุปผลการดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งไปรับรองผลการประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการ LESS (Low Emission Support Scheme) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อขอใบประกาศเกียรติคุณ (Letter of Recognition : LOR) ให้กับหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ
4.3 การจัดแสดงผลงานโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” ในเดือนตุลาคม 2567
ดำเนินการนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินโครงการภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก ในการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย (Thailand Climate Action Conference) หรือ TCAC 2024 ซึ่งภายในงานมีกิจกรรม ดังนี้
(1) การจัดแสดงนิทรรศการ และกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567
(2) การจัดนิทรรศการการนำเสนอข้อมูลการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก และการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย ทั้งด้านการลดก๊าซเรือนกระจก และด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) การบรรยายให้ความรู้/การนำเสนอตัวอย่างและแนวคิด/เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการขับเลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาครัฐและประเทศไทย เช่น การส่งเสริมเศรษฐกิจ “สีเขียว” และการพัฒนาพลังงาน “สีเขียว” การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยลดก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น
(4) การคำนวณการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมการจัดงาน เพื่อมาชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Event
4.4 การรายงานผลการดำเนินโครงการฯ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2567
ดำเนินการรายงานผลการดำเนินโครงการฯ โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น Facebook, Line, Website ของหน่วยงาน
(ทั้งนี้ โครงการที่ดำเนินการ จะต้องคำนึงถึงความสมพระเกียรติ ความจำเป็น และเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม กรณีส่วนราชการประสงค์ขอใช้ตราสัญลักษณ์ ให้ดำเนินการตามที่คณะกรรมการฝ่ายกลั่นกรองการขอใช้ตราสัญลักษณ์กำหนด)
5. วัน เวลา และสถานที่
5.1 พฤษภาคม – ธันวาคม 2567
5.2 แผนการดำเนินงาน
ที่ กิจกรรม พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
1 การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนหน่วยงานทุกภาคส่วนเข้าร่วมโครงการฯ
1.1 ประชาสัมพันธ์ และเชิญชวนหน่วยงานร่วมโครงการฯ /
1.2 สื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ / / / / /
1.3 สร้างความรู้ความเข้าใจในการดเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกของหน่วยงาน และการเข้าร่วมโครงการฯ / / / / /
2 การดำเนินโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก”
2.1 สนับสนุนให้หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ขั้นตอน และกรอบระยะเวลาที่กำหนด / / / /
2.2 รวบรวมจัดเก็บข้อมูลหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ตามประเภทกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก / / / /
2.3 รวบรวมผลการดำเนินกิจกรรมฯ ของหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่งไปรับรองผลการประเมินปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจก ผ่านโครงการ LESS เพื่อขอใบประกาศเกียรติคุณ /
3 การจัดแสดงผลงานโครงการ “ภาคีเครือข่ายร่วมใจลดก๊าซเรือนกระจก” โดยการนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินโครงการฯ ในการจัดประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย มีกิจกรรม ดังนี้

1) จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ

2) การจัดนิทรรศการลดก๊าซเรือนกระจก และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของหน่วยงานที่ร่วมประชุมฯ

3) เวทีบรรยายให้ความรู้ นำเสนอตัวอย่าง/แนวคิด และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

4) การคำนวณการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากกิจกรรมการจัดงาน เพื่อมาชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หรือ Carbon Neutral Event

/
4 การรายงานผลการดำเนินโครงการฯ โดยการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางต่างๆ / /
6. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 ได้ร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
6.2 สร้างความตระหนักให้แก่ตนเอง องค์กร หน่วยงาน และชุมชนในการมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจก และดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6.3 เป็นแบบอย่างที่ดีในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก
7. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
7.1 จำนวนหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 30 แห่ง
7.2 หน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการฯ มีส่วนร่วมและรวมพลังขับเคลื่อนการดำเนินงานการลดก๊าซเรือนกระจก
8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
8.1 กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
8.2 สำนักแผนกลยุทธ์และอำนวยการ
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)

ที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Residence)

ที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

โครงการส่งเสริมที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Residence) เริ่มดำเนินงานครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2565 เพื่อพัฒนาเกณฑ์ประเมินที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุด โดยคำนึงถึงอค์ประกอบ 5 ด้าน ได้แก่ 1.) นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน 2.) การก่อสร้าง ตกแต่ง และนวัตกรรม 3.) การใช้ทรัพยากรและพลังงาน 4.) การจัดการสิ่งแวดล้อม 5.) สภาพน่าอยู่และความปลอดภัย รวมทั้งสิ้น 43 ตัวชี้วัด ผลของการประเมินจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับดีเยี่ยม (G ทอง) ตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป ระดับดีมาก (G เงิน) 70-79 คะแนน และระดับดี (G ทองแดง) 60-69 คะแนน

การดำเนินงานในปี 2566 เป็นการนำเกณฑ์ประเมินไปตรวจประเมินอาคารชุดที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย เกิดจิตสำนึกที่ดีด้านการใช้ทรัพยากรและพลังงาน และเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะส่งผลดีต่อผู้พักอาศัย เจ้าหน้าที่นิติบุคคล และชุมชนโดยรอบ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกับการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติอีกด้วย

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในกลุ่มอาคารชุดอย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกลุ่มอาคารชุด
  3. เพื่อสนับสนุนภาคเอกชน ประชาชน ได้มีบทบาทและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กลุ่มเป้าหมาย

นิติบุคคลอาคารชุดในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อาคารชุดมีภาพลักษณ์ที่ดีด้านการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  2. อาคารชุดสามารถลดและควบคุมปริมาณของเสียที่เกิดจากกิจกรรมภายในอาคารชุด
  3. อาคารชุดสามารถลดต้นทุนจากการใช้ทรัพยากรและพลังงานได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
  4. อาคารชุดทราบปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดออกสู่สิ่งแวดล้อม และตระหนักถึงความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

หน่วยงานรับผิดชอบ

กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โทรศัพท์ 02 298 5653

 

อุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)


อุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

หลักการและเหตุผล
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาอุทยานแห่งชาติให้มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยลดการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสีย ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ ลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย และส่งเสริมให้บุคลากรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในอุทยานแห่งชาติให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานอุทยานแห่งชาติสีเขียว มีการบริการที่ดีแก่นักท่องเที่ยว มีการกำหนดมาตรการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม ในการดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคบริการ และยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของอุทยานแห่งชาตินำไปสู่การพัฒนาอุทยานแห่งชาติอย่างยั่งยืน


เป้าหมาย
อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ


คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)
เพื่อให้การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการยกระดับและขยายผลให้อุทยานแห่งชาติมีการดำเนินการอุทยานแห่งชาติสีเขียว ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อให้การดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) โดยมีองค์ประกอบ จำนวน ๒ คณะ ประกอบด้วย
๑) คณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ
๒) คณะกรรมการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ


หลักเกณฑ์การตรวจประเมินและการรับรองอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

๑. เกณฑ์การให้คะแนน
๑.๑) คะแนนการตรวจประเมินแต่ละประเด็นมีค่าเท่ากับ ๐ – ๔ คะแนน
๑.๒) เกณฑ์ระดับคะแนน ดังนี้
(๑) เกณฑ์คะแนนประเภท G – Green
(๑.๑) ระดับทอง คะแนนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
(๑.๒) ระดับเงิน คะแนนร้อยละ ๗๐ – ๗๙
(๑.๓) ระดับทองแดง คะแนนร้อยละ ๖๐ – ๖๙
(๒) เกณฑ์คะแนนประเภท G – Green Plus
(๒.๑) ต้องมีผลคะแนนร้อยละ ๙๐ ขึ้นไป
(๒.๒) ถ้าผลคะแนนต่ำกว่าร้อยละ ๙๐ ให้ปรับมาใช้เกณฑ์การตรวจประเมินประเภท G – Green แทน

๒. อายุการรับรอง ๓ ปี

๓. อุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการเป็นการตรวจประเมินใหม่ทั้งหมด
๓.๑) อุทยานแห่งชาติใหม่ หรืออุทยานแห่งชาติที่ยังไม่ผ่านการรับรองอุทยานแห่งชาติสีเขียว หรืออุทยานแห่งชาติที่หมดอายุการรับรองและได้ระดับ G เงินหรือระดับ G ทองแดง จะเป็นการตรวจประเมิน ๓ หมวด ๒๔ ประเด็น
๓.๒) อุทยานแห่งชาติต่ออายุที่ได้ระดับ G ทอง โดยเกณฑ์การประเมิน จะเป็นการตรวจประเมิน ๓ หมวด ๒๖ ประเด็น

๔. การตรวจประเมิน ประกอบด้วย
๔.๑) ตรวจประเมินในภาพรวมของอุทยานแห่งชาติ
๔.๒) ตรวจประเมินรายแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ


เกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว
แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภท G – Green Plus และประเภท G – Green โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑) เกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติประเภท G – Green
เกณฑ์การประเมิน ประเภท G – Green ใช้กับอุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมตรวจประเมินครั้งแรก หรืออุทยานแห่งชาติที่ยังไม่ผ่านการรับรองอุทยานแห่งชาติสีเขียว หรืออุทยานแห่งชาติที่หมดอายุการรับรองและได้ระดับ G เงินหรือระดับ G ทองแดง โดยเกณฑ์การประเมิน (ต่ออายุ) ประกอบด้วย ๓ หมวด ๒๔ ประเด็น ทั้งนี้ ประเด็นที่ ๑๖ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนภายในอุทยานแห่งชาติ จะเป็นภาคสมัครใจ

๒) เกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติประเภท G – Green Plus
เกณฑ์การประเมิน ประเภท G – Green Plus ใช้ประเมินอุทยานแห่งชาติที่ได้รับการตรวจประเมินและผ่านการรับรองในระดับ G ทอง โดยเกณฑ์การประเมิน ประกอบด้วย ๓ หมวด ๒๖ ประเด็น ทั้งนี้ ประเด็นที่เพิ่มเติม ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑) ประเด็นที่ ๓ การจัดการบุคลากร และ ๒) ประเด็นที่ ๔ การขยายผลการดำเนินงานอุทยานแห่งชาติสีเขียว


เกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

หมวดที่ ๑ การบริหารจัดการ
ประเด็นที่ ๑ การกำหนดแผนและเป้าหมายการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
ประเด็นที่ ๒ การส่งเสริมและร่วมมือกับชุมชน/ภาคีเครือข่ายในพื้นที่
ประเด็นที่ ๓ การจัดการบุคลากร (Green Plus)
ประเด็นที่ ๔ การขยายผลการดำเนินงานอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green Plus)

หมวดที่ ๒ การคุ้มครอง บำรุงรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
๒.๑ การป้องกันและปราบปรามและการจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์
และมรดกทางวัฒนธรรมของอุทยานแห่งชาติ

ประเด็นที่ ๕ การป้องกัน ปราบปราม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นที่ ๖ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรม
ประเด็นที่ ๗ การจัดการไฟป่า (ยกเว้นการตรวจประเมินในอุทยานแห่งชาติที่ไม่มีปัญหาไฟป่า)
ประเด็นที่ ๘ การจัดการกับพืชและสัตว์ต่างถิ่น และสัตว์เลี้ยง

๒.๒ การจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ ๙ การจัดการสำนักงาน
ประเด็นที่ ๑๐ การจัดการบ้านพักเจ้าหน้าที่
ประเด็นที่ ๑๑ การจัดการน้ำใช้
ประเด็นที่ ๑๒ การจัดการภูมิทัศน์ วางผังบริเวณ และสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ ๑๓ การจัดการด้านพลังงาน
ประเด็นที่ ๑๔ การจัดการขยะ
ประเด็นที่ ๑๕ การจัดการน้ำเสีย
ประเด็นที่ ๑๖ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนภายในอุทยานแห่งชาติ (ประเภท G – Green ภาคสมัครใจ)

หมวดที่ ๓ นันทนาการและการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ ๑๗ การจัดการด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
ประเด็นที่ ๑๘ การออกแบบและจัดการเพื่อทุกคน
ประเด็นที่ ๑๙ การจัดการห้องน้ำ – ห้องสุขา
ประเด็นที่ ๒๐ การจัดการร้านอาหาร
ประเด็นที่ ๒๑ การบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว/บ้านพักรับรอง
ประเด็นที่ ๒๒ การจัดการค่ายพักแรม
ประเด็นที่ ๒๓ การจัดการพื้นที่กางเต็นท์
ประเด็นที่ ๒๔ การจัดการศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ประเด็นที่ ๒๕ การจัดการการสื่อความหมายธรรมชาติ
ประเด็นที่ ๒๖ การจัดการร้านขายของที่ระลึก


ขั้นตอนการดำเนินการ

๑) ฝ่ายเลขานุการ ได้จัดประชุมหารือแนวทางและเกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว และคณะกรรมการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ในปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม FORTROP ตึกวนศาสตร์ ๖๐ ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน ๒๐ คน ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ สถาบันการศึกษา ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

๒) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครอุทยานแห่งชาติที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยในปี ๒๕๖๗ ให้อุทยานแห่งชาติที่สนใจแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการและส่งรายงานประกอบการ พิจารณาเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์การประเมินภายใต้โครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว

๓) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เสนอรายชื่ออุทยานแห่งชาติที่มีความพร้อมและเหมาะสมเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๖ แห่ง ส่งให้ฝ่ายเลขานุการ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว พิจารณาให้ความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการ

๔) ประชุมคณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เพื่อพิจารณารับรองรายชื่ออุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการ รับรองเกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ปี ๒๕๖๗ และแผนการดำเนินงานโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

๕) ประชุมคณะกรรมการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เพื่อเตรียมความพร้อม ซักซ้อมก่อนการตรวจประเมิน และรับทราบแผนการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

๖) ประชุมเตรียมความพร้อม Coaching และทำความเข้าใจแนวทางการเข้ารับการตรวจประเมินให้กับอุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๖ แห่ง ผ่านระบบออนไลน์

๗) คณะกรรมการตรวจประเมินฯ ลงพื้นที่ตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติ จำนวน ๒๖ แห่ง

๘) ประชุมคณะกรรมการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เพื่อสรุปผลการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) ทั้ง ๒๖ แห่ง

๙) ประชุมคณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เพื่อพิจารณารับรองผลการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

๑๐) ประกาศผลการตรวจประเมินให้อุทยานแห่งชาติทราบ


สรุปผลการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)






สถานประกอบการที่มีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production)

โครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production)

กระแสเรื่องโลกร้อนและการให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นของผู้บริโภค เป็นโอกาสและช่องทางในการทำธุรกิจสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Products กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมากขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้คัดเลือกสถานประกอบการ ประเภท การผลิตกระดาษสา สุรากลั่น สิ่งทอขนาดเล็ก และผักผลไม้แช่เย็น แช่แข็ง เป็นสถานประกอบการนำร่อง มีสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 100 แห่ง และมีสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์ฯ และรับมอบตราสัญลักษณ์การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจัดให้มีการดำเนินโครงการต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินการผลิตตามเกณฑ์การผลิตฯ อย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งดำเนินการศึกษาเพื่อพัฒนาเกณฑ์การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์ และศึกษาด้านการตลาดเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการขยายตัวของตลาดสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศ

ผลิตภันฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมประกอบด้วย 4 กลุ่มผลิต ได้แก่

กลุ่มผ้าเครื่องแต่งกายจากผ้าและเคหะสิ่งทอ

ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย หมายถึง ผ้าทอและผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์ รวมทั้งเสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกายที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกาย ทั้งเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยและเพื่อความสวยงาม

ผ้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย นำมาทอถักเป็นผืนมีลวดลายเกิดจากโครงสร้างการทอหรือตกแต่งสำเร็จบนผืนผ้า ทำด้วยมือ หรือเครื่องจักร รวมถึงผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าเป็นหลักและมีวัสดุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบผสม เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าบาติก ผ้าถุง ผ้าปักชาวเขา ผ้าคลุมผม หมวกกะปิเยาะ ผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป บุรุษ – สตรี เป็นต้น

เคหะสิ่งทอ หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุทำจากผ้า มีการตัดเย็บ เช่น ชุดเครื่องนอน พรมเช็ดเท้า ผ้าปูโต๊ะ ถุงมือถักสำหรับทำการเกษตร เป็นต้น

กลุ่มเซรามิกและเครื่องปั้นดินเผา

เซรามิค/เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำวัสดุประเภทดิน สินแร่ไปขึ้นรูปและนำไปเผาด้วยความร้อนสูง เพื่อเป็นภาชนะ ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เช่น เบญจรงค์ ถ้วยชาม ภาชนะกระเบื้อง เซรามิค โอ่ง อ่าง กระถางต่างๆ เป็นต้น

กลุ่มไม้และจักสาน

ไม้ หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่ทำจากไม้เป็นหลัก เช่น ไม้แกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ กล่องไม้ นาฬิกาไม้ตั้งโต๊ะ โคมไฟกะลามะพร้าว ของเล่นเด็ก เครื่องดนตรี ตู้พระธรรม เรือจำลอง แจกันไม้ กรงนก ไม้แขวนเสื้อ เป็นต้น

จักสาน ถักสาน หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่เป็นเส้นใยธรรมชาติ หรือวัสดุสังเคราะห์ใดๆ เช่น พลาสติกนำมาจักสาน หรือถักสานถักทอเป็นรูปร่าง เช่น ตะกร้า กระจูดสาน เสื่อกก ที่รองจานทำจากเสื่อกก ที่ใส่ของทำจากพลาสติกสาน กระจาด กระบุง กระด้ง กระติบข้าว เชือกมัด เปลยวน โคมไฟผักตบชวา ไม้กวาด กระเช้าเถาวัลย์ พรมเช็ดเท้า ฝาชี หมวกสานไม้ไผ่ เป็นต้น

กลุ่มสบู่

เกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

เกณฑ์บังคับ โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆ ดังนี้

1. ข้อร้องเรียนด้านมลพิษ

2. ข้อร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์

3. การใช้วัตถุดิบที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

4. การใช้สารเคมีต้องห้ามตามกฎหมายในกระบวนการผลิต

5. การใช้แรงงานผิดกฎหมาย

เกณฑ์ทั่วไป เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต (Green Supply Chain)

1. นโยบายและการวางแผนการดำเนินการ

2. การออกแบบการผลิตวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์

3. การจัดการกระบวนการผลิต

4. การจัดการผลิตภัณฑ์

5. มาตรการด้านอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย

6. การจัดการของเสีย

7. การอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงาน

ตราสัญลักษณ์ G

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

เงื่อนไข : ตราสัญลักษณ์ G มีอายุการรับรอง 3 ปี และสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ G เพื่อประชาสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่ได้รับการรับรอง

ติดต่อสอบถาม

กลุ่มส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

49 พระราม 6 ซอย 30 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์/โทรสาร 02-298-5653

ร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Restaurant)

ส่งเสริมการบริการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Restaurant)


หลักการและเหตุผล

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมและพัฒนาศักยภาพของกลุ่มเป้าหมายสถานประกอบการภาคการผลิต ภาคการบริการ และหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ลดการเกิดของเสีย ลดการสูญเสียอาหาร (Food loss) และขยะอาหาร (Food waste) ตลอด supply chainและมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งนำไปสู่การขับเคลื่อนการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals; SDGs) ภายใต้แนวทางการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ หรือ BCG Model และที่กำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) โดยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โดยกองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงดำเนินโครงการส่งเสริมการบริการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Restaurant) ปี ๒๕๖8 เพื่อขยายผลร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และเพื่อส่งเสริมการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบและลดการทิ้งอาหารโดยไม่จำเป็น เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค และการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่การบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างพอเพียงและยั่งยืน


วัตถุประสงค์

1) สถานประกอบการที่ให้บริการด้านอาหาร สามารถลดปริมาณขยะเศษอาหาร มีศักยภาพในการจัดการขยะอินทรีย์ที่ถูกหลักวิชาการ และมีการจัดการที่ต้นทาง

2) สถานประกอบการที่ให้บริการด้านอาหาร มีการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในสถานประกอบการ พร้อมทั้งยกระดับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ

4) ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมที่เกิดจากการบริการร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


เป้าหมาย

เพื่อให้สถานประกอบการประเภทภัตตาคาร ร้านอาหาร หรือสวนอาหาร มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และลดการปล่อยก๊าซก๊าซเรือนกระจก โดยสถานประกอบการแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้

ภัตตาคาร หมายถึง ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ 2 คูหาขึ้นไป ที่รับประทานอยู่ภายในอาคารพนักงานแต่งกายด้วยเครื่องแบบ

ร้านอาหาร หมายถึง ร้านอาหารขนาดเล็ก 1 – 2 คูหา ที่รับประทานอาหารอยู่ภายในอาคารส่วนใหญ่เป็นอาหารประจำถิ่นหรือเป็นอาหารเฉพาะอย่าง เช่น ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่ ข้าวหมูแดง ส้มตำ เป็นต้น

สวนอาหาร หมายถึง ร้านอาหารที่มีขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่รับประทานอาหารอยู่นอกอาคาร บรรยากาศเป็นแบบธรรมชาติ พนักงานแต่งกายด้วยเครื่องแบบ

หมายเหตุ : จะไม่รวมถึงร้านอาหารประเภท ร้านอาหารแบบบริการตนเอง (Buffet) /ร้านอาหารจานด่วน (Fast food) /ห้องอาหารในโรงแรม /โรงอาหาร (Canteen) ในโรงงานสำนักงาน หรือโรงเรียน /ศูนย์อาหาร (Food hall) /ร้านบริการเครื่องดื่มที่ไม่มีบริการอาหาร /แผงลอย /ร้านตลาด /ร้านอาหารแบบเคลื่อนที่ /บริการจัดเลี้ยง /บริการอาหารสำหรับกิจการขนส่ง


คุณสมบัติของสถานประกอบการที่จะเข้าร่วมโครงการ

1) เป็นนิติบุคคลหรือมีทะเบียนพาณิชย์ประเภทการบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499

2) มีใบอนุญาต/หนังสือรับรองการแจ้งจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหาร ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

3) มีการดำเนินงานสอดคล้องตาม กฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ครบถ้วน

4) ไม่อยู่ระหว่างการถูกกล่าวโทษหรือถูกตรวจสอบเรื่องร้องเรียนด้านสาธารณสุขหรือสิ่งแวดล้อม

5) ร้านอาหารที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ต้องไม่มีเมนูที่ใช้ผลิตผลจากธรรมชาติที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ปลากระเบนบางสายพันธุ์ ครีบฉลาม ปลาทูน่า หรือที่มีการทารุณกรรมสัตว์ เช่น ตับฟัวการ์ หรือ ไข่จากไก่เลี้ยงกรง Cage/Battery Chicken เป็นต้น


เกณฑ์การประเมินร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Restaurant)

เกณฑ์การประเมินประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 หมวด 14 องค์ประกอบย่อย และตัวชี้วัดการดำเนินงาน 46 ตัวชี้วัด ดังนี้

หมวดที่ 1 : การผลิตอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

1. การจัดซื้อวัตถุดิบ (จำนวน 4 ข้อย่อย)

2. การจัดเก็บวัตถุดิบ (จำนวน 2 ข้อย่อย)

3. การเตรียมวัตถุดิบและการปรุงอาหาร (จำนวน 4 ข้อย่อย)

หมวดที่ 2 : การให้บริการและส่วนสนับสนุนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4. การสร้างเอกลักษณ์ทางด้านภัตตาคารและร้านอาหารที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม (จำนวน 4 ข้อย่อย)

5. การให้บริการและการเสิร์ฟ เพื่อลดการใช้ทรัพยากรหรือลดขยะตั้งแต่ต้นทาง (จำนวน 4 ข้อย่อย)

6. การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มแบบนำกลับบ้าน และแบบจัดส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (จำนวน 2 ข้อย่อย)

หมวดที่ 3 : การจัดการพลังงานและการจัดการสิ่งแวดล้อม

7.การจัดการพลังงาน (จำนวน 4 ข้อย่อย)

8.การจัดการน้ำและน้ำเสีย (จำนวน 4 ข้อย่อย)

9.การจัดการขยะและของเสีย (จำนวน 4 ข้อย่อย)

10. การจัดการมลพิษอากาศและเสียง (จำนวน 2 ข้อย่อย)

หมวดที่ 4 : การบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมกับชุมชนท้องถิ่น

11.การกำหนดแนวทาง เป้าหมาย และการมีส่วนร่วมของพนักงาน (จำนวน 3 ข้อย่อย)

12. การมีส่วนร่วมของพนักงานและผู้ใช้บริการ (จำนวน 3 ข้อย่อย)

13. ความปลอดภัย (จำนวน 2 ข้อย่อย)

14. ความรับผิดชอบต่อท้องถิ่น ชุมชน และสังคม (จำนวน 4 ข้อย่อย)


เกณฑ์ระดับคะแนนแบ่งออกเป็น ๓ ระดับ ดังนี้

1) ระดับทอง (ดีเยี่ยม) ร้อยละ ๘๕ ขึ้นไป

2) ระดับเงิน (ดีมาก) ร้อยละ ๗๕ – ๘๔

3) ระดับทองแดง (ดี) ร้อยละ ๖๕ – ๗๔

อายุการรับรองการตรวจประเมิน 3 ปี

สิทธิประโยชน์สำหรับร้านอาหารที่ผ่านรับรอง

1) ร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์จะได้รับโล่และประกาศนียบัตร จากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

2) นำข้อมูลไปใช้ประโยชน์สำหรับการวางแผนและพัฒนาในระยะต่างๆ

3) สามารถควบคุมและลดต้นทุนการใช้ทรัพยากรและพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน

4) มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมและสังคม ก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของสถานประกอบการ

5) ได้รับการประชาสัมพันธ์สื่อต่างๆ ของกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

6) ผลักดันร้านอาหารที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน เข้าสู่บัญชีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตระกร้าเขียวของกรมควบคุมมลพิษ และ Thai Green Directory ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางต่อไป


หน่วยงานรับผิดชอบ

กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

โทร.0 2298 2653, 0 2278 8400 – 19 ต่อ 1661

โทรสาร 0 2298 5653

หลักสูตรประกาศนียบัตรธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อมสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปธส.)


ประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น ทั้งการแพร่กระจายของมลพิษจากภาคการผลิต มลพิษในเขตเมืองและชุมชน การลักลอบทิ้งสารเคมีและของเสียจากอุตสาหกรรม ดินโคลนถล่ม ชายฝั่งถูกกัดเซาะพังทลายการบุกรุกและการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ส่งผลให้เกิดกระแสการเรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ให้ความสำคัญและร่วมกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการดูแลและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง เพื่อนำไปสู่การกำหนดเครื่องมือและกลไกการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์รวม เกิดการบูรณาการแนวคิดระหว่างการอนุรักษ์ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐและภาคีร่วมพัฒนา การเชื่อมโยงข้อมูลข้อสนเทศด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม จากกระแสพลวัตรดังกล่าว ได้นำมาเป็นแนวคิดหลักในการพัฒนาศักยภาพนักบริหารระดับสูงด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยมีปรัชญาพื้นฐานว่า

– ผู้สำเร็จการศึกษาอบรมจะเป็นบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนและบูรณาการตามหลักธรรมาภิบาล

– สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ และบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างสร้างสรรค์บนพื้นฐานของจริยธรรมสิ่งแวดล้อม

หลักสูตรนี้จึงมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพของผู้บริหารให้เป็นผู้บริหารยุคใหม่หัวใจสีเขียว เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นต้นแบบในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม มีการเชื่อมโยงเครือข่ายความร่วมมือในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และสามารถตัดสินใจแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมบนหลักเหตุและผล โดยคำนึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำคัญ รวมทั้งสามารถสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน

สำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับประเทศ

ประกาศรับสมัครสำนักงานสีเขียว (Green Office)

– ใบสมัคร คลิ๊ก

– แบบประเมินตนเอง คลิ๊ก

นิยามสำนักงานสีเขียว Green Office คลิ๊ก

สถานที่ทำงานที่มีการออกแบบและก่อสร้างของหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ทั้งภายในอาคารและภายนอกอาคาร ที่ผู้ทำงานหรือผู้ประกอบอาชีพใช้เป็นที่ปฏิบัติงานด้านเอกสาร ด้านการประชุมและการจัดนิทรรศการ รวมไปถึงพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น ๆ ภายใน ได้แก่ พื้นที่รับประทานอาหาร พื้นที่ประกอบอาหาร ห้องน้ำ ลานจอดรถ พื้นที่รองรับของเสียระบบบำบัดของเสีย

โครงการสำนักงานสีเขียว Green Office

ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน เพื่อลดการใช้ พลังงาน ดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลด ปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ การลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์

1. ส่งเสริมให้สำนักงานในหน่วยงานเป็นสำนักงานสีเขียวตามเกณฑ์การประเมิน สำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2. ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงานเพื่อลดการใช้พลังงาน และ ทรัพยากร

3. ส่งเสริมให้ดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ลดปริมาณ ขยะโดย การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ ลดการใช้สารเคมีอันตราย

4. ส่งเสริมให้พนักงานในสำนักงานมีการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมีการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทำแล้วได้อะไร

1. ลดค่าใช้จ่ายในสำนักงาน ลดค่าใช้จ่ายในสำนักงานจากการใช้ทรัพยากร พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

2. มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของพนักงาน

3. ยกระดับมาตรฐานสำนักงานให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

4. ช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดภาวะโลกร้อน