• CRI ดำเนินงานโดย Germanwatch ก่อตั้งปี 1991 เป็น NGO ด้านการพัฒนาและสภาพภูมิอากาศที่ทรงอิทธิพลมาร่วม 30 ปี
• มีบทบาท คือการวิเคราะห์และจัดอันดับประเทศเสี่ยงสูงจากสภาพอากาศสุดขั้ว เช่น พายุ น้ำท่วม คลื่นความร้อน และภัยแล้ง
• ใช้ฐานข้อมูล จากจำนวนผู้เสียชีวิต ความเสียหายทางเศรษฐกิจ และจำนวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
• ใช้วิธีการประเมินผลย้อนหลัง แสดงระดับผลกระทบของเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วในช่วงสองปีก่อนการเผยแพร่ดัชนี และในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา
• มีประสบการณ์กว่า 30 ปี ดำเนินโครงการสำเร็จมาแล้วกว่า 650 โครงการ มีบทบาทสำคัญในการผลักดันนโยบายด้านสภาพอากาศและการพัฒนาในเยอรมนีและยุโรป
• Christoph Bals ทำหน้าที่ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบาย Germanwatch ที่มีบทบาทสำคัญในการนำองค์กรมุ่งเน้นประเด็นการพัฒนาและสภาพภูมิอากาศตั้งแต่แรกเริ่ม

ไทยพ้นกลุ่มเสี่ยง 10 อันดับแรก
               • Climate Risk Index 2025 ระบุว่า ปี 2022 ประเทศไทยมีค่าดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศอยู่ที่ อันดับ 72 ลดลงจาก อันดับ 34 ในปี 2019
               • ดัชนีระยะยาว (1993-2022) ไทยอยู่ในอันดับ 30 ลดลงจากอันดับ 9 ในช่วงปี 2000-2019 แสดงให้เห็นว่าผลกระทบจากสภาพอากาศสุดขั้วของไทยลดลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่เผชิญความสูญเสียรุนแรงขึ้น
               • ประเทศไทยเคยติด 10 อันดับแรกของประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในหลายช่วงเวลา เช่น
                    ● อันดับ 9 ในช่วงปี 1995-2014
                    ● อันดับ 10 ในช่วงปี 1998-2017
                    ● อันดับ 8 ในช่วงปี 1999-2018
                    ● อันดับ 9 ในช่วงปี 2000-2019

โลกรวนรุนแรงขึ้น
               • Climate Risk Index 2025 ชี้แนวโน้มภัยพิบัติทางธรรมชาติทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ
               • ช่วงปี 1993-2022 มีการบันทึกเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้วมากกว่า 9,400 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตกว่า 765,000 ราย และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกว่า 4.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
               • สัดส่วนผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ พายุ (35%) คลื่นความร้อน (30%) และอุทกภัย (27%)
               • พายุเป็นสาเหตุที่สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจมากที่สุด = 2.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 56% ของความเสียหายทั้งหมด รองลงมาอุทกภัย = 1.33 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 32% ของความเสียหายทั้งหมด
               • CRI 2025 เปิดชื่อ 10 ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากสภาพอากาศสุดขั้วในปี 2022 ได้แก่ ปากีสถาน เบลีซ อิตาลี กรีซ สเปน เปอร์โตริโก สหรัฐอเมริกา ไนจีเรีย โปรตุเกส และบัลแกเรีย ตามลำดับ
               • ปากีสถานได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ ผู้เสียชีวิตกว่า 1,700 คน ส่วนอิตาลีและกรีซเผชิญคลื่นความร้อน อุณหภูมิสูงเกิน 40°C เกิดไฟป่าขนาดใหญ่
               • ประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดในช่วงปี 1993-2022 แบ่งออกเป็นสองกลุ่มหลัก
                    -กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่ผิดปกติรุนแรง เช่น โดมินิกา ฮอนดูรัส เมียนมา และวานูอาตู
                    -กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ เช่น จีน อินเดีย และฟิลิปปินส์

ประเทศยากจนกระทบมากสุด
               • Climate Risk Index (CRI) เผยแพร่รายงานฉบับแรก ปี 2006 ระบุว่า ประเทศที่มีรายได้น้อยที่สุดจะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สภาพอากาศมากที่สุด
               • CRI จัดอันดับประเทศตามผลกระทบทางเศรษฐกิจและของมนุษย์ โดยประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจะอยู่ในอันดับสูงสุด จึงสะท้อนให้เห็นว่าประเทศใดกำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากโลกร้อนมากที่สุด
               • Germanwatch ยังทำงานในประเด็นอื่น ๆ เช่น การลดและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นโยบายความรับผิดชอบของภาคธุรกิจ ความมั่นคงทางอาหารและการใช้ที่ดิน การเงินที่ยั่งยืน และการฟ้องร้องด้านสภาพภูมิอากาศและสิทธิมนุษยชน ผ่านเครือข่ายอาสาสมัครและความร่วมมือกับองค์กรระดับนานาชาติ

“ประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนด้วยเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชน”

แหล่งที่มา :
(1) GermanWatch, Climate Risk Index 2025