อุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

หลักการและเหตุผล
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาอุทยานแห่งชาติให้มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยลดการใช้พลังงานและทรัพยากร ลดการเกิดของเสีย ลดปริมาณขยะโดยการลดการใช้ การใช้ซ้ำ การนำกลับมาใช้ใหม่ ลดและเลิกใช้สารเคมีอันตราย และส่งเสริมให้บุคลากรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สร้างความตระหนักและการมีส่วนร่วมในอุทยานแห่งชาติให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานอุทยานแห่งชาติสีเขียว มีการบริการที่ดีแก่นักท่องเที่ยว มีการกำหนดมาตรการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากรอย่างเป็นรูปธรรม ในการดำเนินกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมดังกล่าว เพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคบริการ และยกระดับการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของอุทยานแห่งชาตินำไปสู่การพัฒนาอุทยานแห่งชาติอย่างยั่งยืน


เป้าหมาย
อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ


คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)
เพื่อให้การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียวเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนเป็นการยกระดับและขยายผลให้อุทยานแห่งชาติมีการดำเนินการอุทยานแห่งชาติสีเขียว ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง เพื่อลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อให้การดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) โดยมีองค์ประกอบ จำนวน ๒ คณะ ประกอบด้วย
๑) คณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) โดยมีปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ
๒) คณะกรรมการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อม เป็นประธานกรรมการ


หลักเกณฑ์การตรวจประเมินและการรับรองอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

๑. เกณฑ์การให้คะแนน
๑.๑) คะแนนการตรวจประเมินแต่ละประเด็นมีค่าเท่ากับ ๐ – ๔ คะแนน
๑.๒) เกณฑ์ระดับคะแนน ดังนี้
(๑) เกณฑ์คะแนนประเภท G – Green
(๑.๑) ระดับทอง คะแนนร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป
(๑.๒) ระดับเงิน คะแนนร้อยละ ๗๐ – ๗๙
(๑.๓) ระดับทองแดง คะแนนร้อยละ ๖๐ – ๖๙
(๒) เกณฑ์คะแนนประเภท G – Green Plus
(๒.๑) ต้องมีผลคะแนนร้อยละ ๙๐ ขึ้นไป
(๒.๒) ถ้าผลคะแนนต่ำกว่าร้อยละ ๙๐ ให้ปรับมาใช้เกณฑ์การตรวจประเมินประเภท G – Green แทน

๒. อายุการรับรอง ๓ ปี

๓. อุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการเป็นการตรวจประเมินใหม่ทั้งหมด
๓.๑) อุทยานแห่งชาติใหม่ หรืออุทยานแห่งชาติที่ยังไม่ผ่านการรับรองอุทยานแห่งชาติสีเขียว หรืออุทยานแห่งชาติที่หมดอายุการรับรองและได้ระดับ G เงินหรือระดับ G ทองแดง จะเป็นการตรวจประเมิน ๓ หมวด ๒๔ ประเด็น
๓.๒) อุทยานแห่งชาติต่ออายุที่ได้ระดับ G ทอง โดยเกณฑ์การประเมิน จะเป็นการตรวจประเมิน ๓ หมวด ๒๖ ประเด็น

๔. การตรวจประเมิน ประกอบด้วย
๔.๑) ตรวจประเมินในภาพรวมของอุทยานแห่งชาติ
๔.๒) ตรวจประเมินรายแหล่งท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติ


เกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว
แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ ประเภท G – Green Plus และประเภท G – Green โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑) เกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติประเภท G – Green
เกณฑ์การประเมิน ประเภท G – Green ใช้กับอุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมตรวจประเมินครั้งแรก หรืออุทยานแห่งชาติที่ยังไม่ผ่านการรับรองอุทยานแห่งชาติสีเขียว หรืออุทยานแห่งชาติที่หมดอายุการรับรองและได้ระดับ G เงินหรือระดับ G ทองแดง โดยเกณฑ์การประเมิน (ต่ออายุ) ประกอบด้วย ๓ หมวด ๒๔ ประเด็น ทั้งนี้ ประเด็นที่ ๑๖ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนภายในอุทยานแห่งชาติ จะเป็นภาคสมัครใจ

๒) เกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติประเภท G – Green Plus
เกณฑ์การประเมิน ประเภท G – Green Plus ใช้ประเมินอุทยานแห่งชาติที่ได้รับการตรวจประเมินและผ่านการรับรองในระดับ G ทอง โดยเกณฑ์การประเมิน ประกอบด้วย ๓ หมวด ๒๖ ประเด็น ทั้งนี้ ประเด็นที่เพิ่มเติม ๓ ประเด็น ได้แก่ ๑) ประเด็นที่ ๓ การจัดการบุคลากร และ ๒) ประเด็นที่ ๔ การขยายผลการดำเนินงานอุทยานแห่งชาติสีเขียว


เกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

หมวดที่ ๑ การบริหารจัดการ
ประเด็นที่ ๑ การกำหนดแผนและเป้าหมายการจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน
ประเด็นที่ ๒ การส่งเสริมและร่วมมือกับชุมชน/ภาคีเครือข่ายในพื้นที่
ประเด็นที่ ๓ การจัดการบุคลากร (Green Plus)
ประเด็นที่ ๔ การขยายผลการดำเนินงานอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green Plus)

หมวดที่ ๒ การคุ้มครอง บำรุงรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
๒.๑ การป้องกันและปราบปรามและการจัดการทรัพยากรทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์
และมรดกทางวัฒนธรรมของอุทยานแห่งชาติ

ประเด็นที่ ๕ การป้องกัน ปราบปราม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประเด็นที่ ๖ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และมรดกทางวัฒนธรรม
ประเด็นที่ ๗ การจัดการไฟป่า (ยกเว้นการตรวจประเมินในอุทยานแห่งชาติที่ไม่มีปัญหาไฟป่า)
ประเด็นที่ ๘ การจัดการกับพืชและสัตว์ต่างถิ่น และสัตว์เลี้ยง

๒.๒ การจัดการด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ ๙ การจัดการสำนักงาน
ประเด็นที่ ๑๐ การจัดการบ้านพักเจ้าหน้าที่
ประเด็นที่ ๑๑ การจัดการน้ำใช้
ประเด็นที่ ๑๒ การจัดการภูมิทัศน์ วางผังบริเวณ และสถาปัตยกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ ๑๓ การจัดการด้านพลังงาน
ประเด็นที่ ๑๔ การจัดการขยะ
ประเด็นที่ ๑๕ การจัดการน้ำเสีย
ประเด็นที่ ๑๖ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการกักเก็บคาร์บอนภายในอุทยานแห่งชาติ (ประเภท G – Green ภาคสมัครใจ)

หมวดที่ ๓ นันทนาการและการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ประเด็นที่ ๑๗ การจัดการด้านความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
ประเด็นที่ ๑๘ การออกแบบและจัดการเพื่อทุกคน
ประเด็นที่ ๑๙ การจัดการห้องน้ำ – ห้องสุขา
ประเด็นที่ ๒๐ การจัดการร้านอาหาร
ประเด็นที่ ๒๑ การบริการบ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว/บ้านพักรับรอง
ประเด็นที่ ๒๒ การจัดการค่ายพักแรม
ประเด็นที่ ๒๓ การจัดการพื้นที่กางเต็นท์
ประเด็นที่ ๒๔ การจัดการศูนย์บริการนักท่องเที่ยว
ประเด็นที่ ๒๕ การจัดการการสื่อความหมายธรรมชาติ
ประเด็นที่ ๒๖ การจัดการร้านขายของที่ระลึก


ขั้นตอนการดำเนินการ

๑) ฝ่ายเลขานุการ ได้จัดประชุมหารือแนวทางและเกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว และคณะกรรมการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ในปีที่ผ่านมา เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม FORTROP ตึกวนศาสตร์ ๖๐ ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน ๒๐ คน ได้แก่ ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ สถาบันการศึกษา ผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

๒) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เปิดรับสมัครอุทยานแห่งชาติที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยในปี ๒๕๖๗ ให้อุทยานแห่งชาติที่สนใจแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการและส่งรายงานประกอบการ พิจารณาเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์การประเมินภายใต้โครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว

๓) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เสนอรายชื่ออุทยานแห่งชาติที่มีความพร้อมและเหมาะสมเข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๖ แห่ง ส่งให้ฝ่ายเลขานุการ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว พิจารณาให้ความเห็นชอบเข้าร่วมโครงการ

๔) ประชุมคณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เพื่อพิจารณารับรองรายชื่ออุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการ รับรองเกณฑ์การตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ปี ๒๕๖๗ และแผนการดำเนินงานโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

๕) ประชุมคณะกรรมการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ เพื่อเตรียมความพร้อม ซักซ้อมก่อนการตรวจประเมิน และรับทราบแผนการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

๖) ประชุมเตรียมความพร้อม Coaching และทำความเข้าใจแนวทางการเข้ารับการตรวจประเมินให้กับอุทยานแห่งชาติที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๒๖ แห่ง ผ่านระบบออนไลน์

๗) คณะกรรมการตรวจประเมินฯ ลงพื้นที่ตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติ จำนวน ๒๖ แห่ง

๘) ประชุมคณะกรรมการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เพื่อสรุปผลการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) ทั้ง ๒๖ แห่ง

๙) ประชุมคณะกรรมการอำนวยการอุทยานแห่งชาติสีเขียว ครั้งที่ ๒/๒๕๖๗ เพื่อพิจารณารับรองผลการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)

๑๐) ประกาศผลการตรวจประเมินให้อุทยานแห่งชาติทราบ


สรุปผลการตรวจประเมินอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park)