โครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Production)

กระแสเรื่องโลกร้อนและการให้ความสนใจด้านสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นของผู้บริโภค เป็นโอกาสและช่องทางในการทำธุรกิจสำหรับสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Products กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจึงจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการพัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมากขึ้น เป็นการเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคได้เข้าถึงสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

นับตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้คัดเลือกสถานประกอบการ ประเภท การผลิตกระดาษสา สุรากลั่น สิ่งทอขนาดเล็ก และผักผลไม้แช่เย็น แช่แข็ง เป็นสถานประกอบการนำร่อง มีสถานประกอบการสมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 100 แห่ง และมีสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์ฯ และรับมอบตราสัญลักษณ์การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบัน กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมจัดให้มีการดำเนินโครงการต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ประกอบการดำเนินการผลิตตามเกณฑ์การผลิตฯ อย่างกว้างขวาง พร้อมทั้งดำเนินการศึกษาเพื่อพัฒนาเกณฑ์การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม ประชาสัมพันธ์ และศึกษาด้านการตลาดเพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการขยายตัวของตลาดสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศ

ผลิตภันฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมประกอบด้วย 4 กลุ่มผลิต ได้แก่

กลุ่มผ้าเครื่องแต่งกายจากผ้าและเคหะสิ่งทอ

ประเภทผ้า เครื่องแต่งกาย หมายถึง ผ้าทอและผ้าถักจากเส้นใยธรรมชาติหรือเส้นใยสังเคราะห์ รวมทั้งเสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม และเครื่องแต่งกายที่ใช้ประดับตกแต่งประกอบการแต่งกาย ทั้งเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยและเพื่อความสวยงาม

ผ้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ผ้าผืนที่ทำจากเส้นใย เส้นด้าย นำมาทอถักเป็นผืนมีลวดลายเกิดจากโครงสร้างการทอหรือตกแต่งสำเร็จบนผืนผ้า ทำด้วยมือ หรือเครื่องจักร รวมถึงผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าเป็นหลักและมีวัสดุอื่นๆ เป็นองค์ประกอบผสม เช่น ผ้าไหม ผ้าฝ้าย ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ผ้าคลุมไหล่ ผ้าบาติก ผ้าถุง ผ้าปักชาวเขา ผ้าคลุมผม หมวกกะปิเยาะ ผ้าพันคอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป บุรุษ – สตรี เป็นต้น

เคหะสิ่งทอ หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุทำจากผ้า มีการตัดเย็บ เช่น ชุดเครื่องนอน พรมเช็ดเท้า ผ้าปูโต๊ะ ถุงมือถักสำหรับทำการเกษตร เป็นต้น

กลุ่มเซรามิกและเครื่องปั้นดินเผา

เซรามิค/เครื่องปั้นดินเผา หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีการนำวัสดุประเภทดิน สินแร่ไปขึ้นรูปและนำไปเผาด้วยความร้อนสูง เพื่อเป็นภาชนะ ของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก เช่น เบญจรงค์ ถ้วยชาม ภาชนะกระเบื้อง เซรามิค โอ่ง อ่าง กระถางต่างๆ เป็นต้น

กลุ่มไม้และจักสาน

ไม้ หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่ทำจากไม้เป็นหลัก เช่น ไม้แกะสลัก เฟอร์นิเจอร์ กล่องไม้ นาฬิกาไม้ตั้งโต๊ะ โคมไฟกะลามะพร้าว ของเล่นเด็ก เครื่องดนตรี ตู้พระธรรม เรือจำลอง แจกันไม้ กรงนก ไม้แขวนเสื้อ เป็นต้น

จักสาน ถักสาน หมายถึง ของใช้/ของตกแต่ง/ของที่ระลึก ที่มีวัสดุที่เป็นเส้นใยธรรมชาติ หรือวัสดุสังเคราะห์ใดๆ เช่น พลาสติกนำมาจักสาน หรือถักสานถักทอเป็นรูปร่าง เช่น ตะกร้า กระจูดสาน เสื่อกก ที่รองจานทำจากเสื่อกก ที่ใส่ของทำจากพลาสติกสาน กระจาด กระบุง กระด้ง กระติบข้าว เชือกมัด เปลยวน โคมไฟผักตบชวา ไม้กวาด กระเช้าเถาวัลย์ พรมเช็ดเท้า ฝาชี หมวกสานไม้ไผ่ เป็นต้น

กลุ่มสบู่

เกณฑ์การพิจารณาแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่

เกณฑ์บังคับ โดยผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะต้องไม่มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับด้านต่างๆ ดังนี้

1. ข้อร้องเรียนด้านมลพิษ

2. ข้อร้องเรียนด้านผลิตภัณฑ์

3. การใช้วัตถุดิบที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

4. การใช้สารเคมีต้องห้ามตามกฎหมายในกระบวนการผลิต

5. การใช้แรงงานผิดกฎหมาย

เกณฑ์ทั่วไป เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาคุณค่าด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่การผลิต (Green Supply Chain)

1. นโยบายและการวางแผนการดำเนินการ

2. การออกแบบการผลิตวัตถุดิบและบรรจุภัณฑ์

3. การจัดการกระบวนการผลิต

4. การจัดการผลิตภัณฑ์

5. มาตรการด้านอาชีวะอนามัยและความปลอดภัย

6. การจัดการของเสีย

7. การอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงาน

ตราสัญลักษณ์ G

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

เงื่อนไข : ตราสัญลักษณ์ G มีอายุการรับรอง 3 ปี และสามารถใช้ตราสัญลักษณ์ G เพื่อประชาสัมพันธ์ในช่วงเวลาที่ได้รับการรับรอง

ติดต่อสอบถาม

กลุ่มส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

49 พระราม 6 ซอย 30 ถนนพระรามที่ 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400

โทรศัพท์/โทรสาร 02-298-5653